กล้วยไม้สิงโตอรัมโบราเซีย Bulbophyllum ambrosia Schlechter 1919

ดอกกล้วยไม้ สิงโตอรัมโบราเซีย
(http://orchids.wikia.com/)
ชื่ออื่นๆ :
Bulbophyllum ambrosia subsp nepalense Wood 1986
Bulbophyllum amygdalinum Aver.1988
Bulbophyllum watsonianum Rchb.f 1888
Eria ambrosia Hance 1883

ถิ่นกำเนิด : จีน ฮ่องกง และเวียดนาม
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : อบอุ่น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :

กล้วยไม้สิงโต
       เจริญเติบโตบนต้นไม้หรือตามโขดหินในป่าดิบและป่ากึ่งผลัดใบที่ระดับความสูง 300 ถึง 1,100 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก มีลำลูกกล้วยเกือบเป็นทรงกระบอกสูงประมาณ 3 ซม. มีใบเพียงใบเดียว ใบยาว 5-8 ซม.

ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต
       ออกดอกเดี่ยว ช่อดอกยาว 10 - 14 ซม. กลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงมีสีเหลืองอ่อนและมีเส้นสีแดงเข้มพาดผ่าน สังเกตุเห็นได้ชัดเจน เมื่อดอกกล้วยไม้บานเต็มที่จะมีขนาด 2.5 ถึง 3 ซม. ดอกมีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง ออกดอกช่วงฤดูหนาว


ดอกกล้วยไม้ สิงโตอรัมโบราเซีย
(http://www.orchidspecies.com/)
การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       เลี้ยงกล้วยไม้ไว้ในบริเวณที่อบอุ่น รักษาความชื้นในช่วงฤดูร้อนให้สูงกว่า 80% ส่วนในช่วงฤดูหนาวควรลดความชื้นลงมาที่ 60% เลี้ยงกล้วยไม้ไว้ในบริเวณที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ตลอดวัน วัสดุปลูกคือพวกกาบมะพร้าวทั่วไป หรือสแฟนสั่มมอส
ต้นกล้วยไม้ สิงโตอรัมโบราเซีย
(botany.szu.edu.cn)

กล้วยไม้สิงโตกลีบม้าหลวง Bulbophyllum reclusum Seidenf.

กล้วยไม้สิงโตกลีบม้าหลวง
(http://www.orchidspecies.com/)
ชื่ออื่นๆ :
ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย ตามป่าดินเขาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การเพาะปลูก : ง่าย--ตายยาก โตยาก เหมือนกล้วยไม้สกุลช้าง
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : อบอุ่น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :


กล้วยไม้สิงโต
       เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 10 ซม. ใบยาวประมาณ 10 ซม.

ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต
       ออกดอกเป็นช่อ--มีกาบใบหุ้ม ช่อดอกแทงยอดออกจากโคนลำลูกกล้วย ยาว 15 ถึง 20 ซม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างติดกัน มีสีเหลืองเข้มและมีเส้นสีแดงพาดผ่าน กลีบดอกสีเหมือนกลีบเลี้ยงแต่มีขนาดเล็กกว่า ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเพียง 8 มม. ออกดอกเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม

การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       *

    
กล้วยไม้สิงโตกลีบม้าหลวง
(http://www.qsbg.org/)
กล้วยไม้สิงโตกลีบม้าหลวง
(http://www.qsbg.org/)




















กล้วยไม้สิงโตก้ามปูใหญ่ Bulbophyllum macranthum Lindley 1844

รูปกล้วยไม้สิงโตก้ามปูใหญ่
(http://www.orchidspecies.com/)
ชื่ออื่นๆ : The Large Flowered Bulbophyllum
Sarcopodium macranthum Lindley 1850-1
Phyllorchis macrantha (Lindl.) Kuntze
Sarcopodium purpureum Rchb.f 1859;
Bulbophyllum purpureum Náves in F.M.Blanco 1880
Bulbophyllum cochinchinense Gagn. 1950
Bulbophyllum patens Auct. no King ex Hkr. Gagn. 1951
Carparomorchis macrantha (Lindl.) M.A.Clem. & D.L.Jones 2002

ถิ่นกำเนิด : ไทย, มาเลเซีย, เวียดนาม, ปาปัวนิวกินี, และบอร์เนียว
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : อบอุ่น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี : 1850
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย : John Lindley


กล้วยไม้สิงโต
       พบในป่าร้อนชื้นที่ระดับความสูง 700 ถึง 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล กล้วยไม้ชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกับ Bulbophyllum praetervisum มาก ข้อแตกต่างคือ ปลายของกลีบเลี้ยงคู่ล่างของกล้วยไม้สิงโตก้ามปูใหญ่จะติด หรือทำมุมแหลมกว่า ส่วน Bulbophyllum praetervisum จะมีปลายของกลีบเลี้ยงคู่ล่างที่แยกออกจากกัน
       ลำลูกกล้วยรุปไข่อยู่ห่างกัน มีใบเพียง 1 ใบ เหง้ามีขนเล็กน้อย


ภาพวาดกล้วยไม้สิงโตก้ามปูใหญ่
(http://upload.wikimedia.org/)
ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต
       ออกดอกเดี่ยว ดอกมีลักษณะคว่ำลง มีขนาดประมาณ 5 ซม. ปลายกลีบเลี้ยงคู่ข้างบนจะติดกับ ส่วนกลีบเลี้ยงล่างและกลีบดอกมีสีและลักษณะคล้ายกัน มีพื้นผิวสีเหลืองอ่อน มีลายจุดสีแดงเข้มอยู่ทั่วกลีบเลี้ยงเและกลีบดอก

การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       กล้วยไม้สิงโตก้ามปูใหญ่ต้องการอุณหภูมิค่อนข้างสูง แต่ไม่สัมผัสแดดโดยตรง นำกล้วยไม้ไว้บริเวณที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ตลอดวัน กล้วยไม้ต้องการความชื้นสูง 80% ขึ้นไป ในฤดูหนาวควรลดการรดน้ำ--ลดความชื้นให้เหลือ 60%  หากบริเวณนั้นมีลมพัดผ่านดี จะช่วยหลีกเลี่ยงการเจริญเติบโตของเชื้อราได้
       วัสดุที่ใช้ปลูกคือกาบมะพร้าม ยัดใส่หลวมๆ หรือใช้สแฟกนั่มมอส


กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum tuilume

กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum tuilume
(http://www.orchidspecies.com/)
ชื่ออื่นๆ : The Coral Red Bulbophyllum
ถิ่นกำเนิด : ไทย จีน และเวียดนาม
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต :
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี : 1963
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย : Tixier & Guillaumin


กล้วยไม้สิงโต
       เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่เจริญเติบโตบนต้นไม้ในป่าเขตอบอุ่นที่มีความสูง 1,100 ถึง 1,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก ที่มีลำลูกกล้วยเป็นรูปไข่

ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต
       ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสั้นมาก ดอกมีขนาดเล็ก อยู่ใกล้กับลำต้น(ลำลูกกล้วย) มีกลีบดอกขนาดเล็กสีขาวขุ่น กลีบเลี้ยงมีสีแดงเข้ม ส่วนกลีบเลี้ยงด้านข้างจะมีลักษณะโค้งเป็นเคี้ยว

การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       *ยังไม่มีข้อมูล

กล้วยไม้สิงโตก้านหลอด Bulbophyllum capillipes C.S.P Parish & Rchb.f.

กล้วยไม้สิงโตก้านหลอด Bulbophyllum capillipes
(http://www.orchidspecies.com/)
ชื่ออื่นๆ : สิงโตก้านหลอด, The Hairy Column Foot Bulbophyllum
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย พม่า เมียนม่าร์ และไทย
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ปานกลาง - อบอุ่น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :


กล้วยไม้สิงโต
       เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็ก พบในป่าเขตร้อนที่ระดับความสูง 700-  1,500 เมตร สูงประมาณ 2 ถึง 10 ซม. มีลำลูกกล้วยเป็นรูปไข่ แต่ละลำลูกกล้วยจะมีใบเพียง 1 ใบ เมื่ออายุมากใบจะร่วงและลำลูกกล้วยจะทำหน้าที่สะสมอาหาร

ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต 
       ช่อดอกยาวประมาณ 5 ถึง 7 ซม. ออกดอกเดี่ยว ดอกบานเต็มที่มีขนาด 1 ถึง 1.3 ซม. กลีบดอกมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงมีขนาดใหญ่ พื้นผิวใบมีสีเหลือง มีสีแดงเข้มพาดผ่าน กลีบดอกมีสีม่วงเข้ม ออกดอกช่วง เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน

การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       คล้ายสิงโตชนิดอื่นๆ เลี้ยงไว้ในเงาต้นไม้ใหญ่ แสงประมาณ 50% ความชื้น 80% หาบริเวณที่มีลมพัดผ่าน เพื่อลดการสะสมของเชื้อรา

กล้วยไม้สิงโตพัดโบก Bulbophyllum auratum Lindl.

ชื่ออื่นๆ : The Golden Bulbophyllum
Cirrhopetalum auratum Lindl., Edwards's Bot. Reg. 26(Misc.): 50 (1840).
Cirrhopetalum candelabrum Lindley ex Moore 1854
Phyllorchis aurata (Lindl.) Kuntze 1891
Cirrhopetalum borneense Schltr. 1906
Bulbophyllum borneense (Schltr.) J.J. Sm. 1907
Bulbophyllum campanulatum [Rolfe] Rolfe 1909
Cirrhopetalum campanulatum Rolfe 1910


กล้วยไม้สิงโตพัดเหลือง Bulbophyllum auratum
(http://en.wikipedia.org/)
ถิ่นกำเนิด : แทบเอเชีย, ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : อบอุ่น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :

กล้วยไม้สิงโต
       พบในป่าที่ความสูง 100 ถึง 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ลำลูกกล้วยห่างกันประมาณ 1 ถึง 2 เซนติเมตร เจริญเติบโตทางด้านข้าง แต่ละลำลูกกล้วยจะมีใบเพียงใบเดียว เมื่อมันอายุมากมันจะทิ้งใบแล้วทำหน้าที่สะสมอาหาร
กล้วยไม้ชนิดนี้มีหลากหลายพันธุ์ย่อย (Variants) เช่น สิงโตพัดโบกแดง สิงโตพัดโบกเหลือง สิงโตพัดโบกชมพู

ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต
       มีลักษณะเป็นเหมือนร่ม กลีบเลี้ยงคู่ข้างมีลักษณะช่อดอกยาวกระมาณ 15 ซม. ออกดอกเป็นกลุ่ม 1 กลุ่มต่อช่อ เป็นแท่งยาวเชื่อมติดกัน มีกลีบปากขนาดเล็ก--สามารถขยับขึ้นลงได้ กลีบเลี้ยงบนและกลีบดอกมีขนาดเล็ก ที่ปลายยอดเหล่านั้นมีขนอยู่เล็กน้อย

การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       กล้วยไม้ต้องการสภาพอากาศที่อบอุ่น ความร้อนไม่เป็นปัญหาต่อกล้วยไม้ แต่กล้วยไม้สัมผัสแสงแดดโดยตรงไม่ได้ กล้วยไม้ต้องการความชื้นสูง 80% การเลี้ยงกล้วยไม้ในที่ๆมีลมพัดผ่านจะช่วยลดปัญหาเรื่องเชื้อราได้ วัสดุในการปลุกจะเป็นพวกกาบมะพร้าว ขุยมะพร้าว หรือสแฟกนั่มมอส ความแฉะเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้


กล้วยไม้สิงโตพัดโบกแดง
(http://www.orchidspecies.com)

กล้วยไม้สิงโตพัดโบกเหลือง
(http://www.orchidspecies.com)
กล้วยไม้สิงโตพัดโบกชมพู
(http://www.orchidspecies.com)

กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum disciflorum (Rolfe) 1895

กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum disciflorum
ชื่ออื่นๆ : The Disc Flowered Trias แปลว่า แผ่นจานดอกไม้ มาจากลักษณะของกลีบปากที่แบนเหมือนจาน, Trias disciflora (Rolfe) 1896
ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย ลาว เวียดนาม
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ร้อนชื้น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :

กล้วยไม้สิงโต
       เป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก พบกล้วยไม้ชนิดนี้ในป่า(ไม่ผลัดใบ)ร้อนชื้น พบที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
       ปัจจุบัน (2014) ดูเหมือนว่ากล้วยไม้ชนิดนี้ไม่ใช่กล้วยไม้สิงโต มันถูกย้ายไปอยู่ในสกุล Trias (จริงๆแล้วมันน่าจะถูกย้ายไปนานแล้ว แต่ผู้เขียนไม่มีข้อมูล) ปัจจุบันกล้วยไม้ชนิดนี้มีชื่อว่า Trias disciflora (Rolfe) 1896

ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต
       ออกดอกเดี่ยว ช่อดอกสั้น มีกลีบเลี้ยงบนเหมือนหลังคา ผิวด้านนอกของกลีบเลี้ยงมีสีเหลือง ส่วนผิวด้านในมีสีเหลืองและมีจุดสีม่วงเข้มหรือแดงเข้ม กลีบดอกมีลายเหมือนกลีบเลี้ยงแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ส่วนกลีบปากมีลักษณะเป็นแผ่นเหมือนจาน มีจุดสีเกือบทั่วพื้นผิว ออกดอช่วงฤดูร้อน

การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       กล้วยไม้ต้องการความชื้นสูงมากตลอดปี--ไม่ใช่ความแฉะ ต้องการร่มเงา หลีกเลี้ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง

กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum mearnsii Ames, 1913

กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum mearnsii
(http://orchids.wikia.com/)
ชื่ออื่นๆ : Mearns' Bulbophyllum, Bulbophyllum carinatum [1912]
ถิ่นกำเนิด : เกาะซูลาเวซี และฟิลิปปินส์
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : อบอุ่น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย : Mearns


กล้วยไม้สิงโต 
       เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็ก เจริญเติบโตที่ระดับความสูงประมาณ 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีลำต้น(ลำลูกกล้วย) เป็นทรงกระบอก แต่ละลำต้นอยู่ห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร
       กล้วยไม้สิงโตชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกับชนิดอื่นๆอีกมาก จนยากที่จะแยกแยะออก ผมรวบรวมรายชื่อไว้ด้านล่าง

ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต 
       ออกดอกเป็นช่อ แต่ละช่ออาจมีดอกเพียง 1 หรือ 2 ดอก กลีบเลี้ยงด้านบนมีสีจาง มีลักษณะคล้ายหลังคาบังเส้าเกสร ส่วนปลายของกลีบเลี้ยงคู่ข้างจะประกบกัน เหมือนลานเพื่อให้แมลงมาลงจอดแล้วทำหน้าที่ผสมเกสร กลีบปากมีสีแดงเข้มและมีลายจุดเล็กน้อย ส่วนกลีบดอกนั้นมีขนาดเล็ก มองเผินๆอาจไม่สังเกตุเห็น



กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum mearnsii
(www.flickr.com)
การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       กล้วยไม้ต้องการความอบอุ่น และชื้น วางกล้วยไม้ไว้ในบริเวณร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ตลอดวัน และควรมีลมพัดผ่านตลอดเวลาเพื่อป้องกันเชื้อรา ส่วนวัสดุที่ใช้ปลูกแนะนำเป็นสแฟกนั่มมอส หรือกาบมะพร้าวทั่วๆไป ในฤดูหนาวควรลดการรดน้ำ--แต่ไม่ควรปล่อยให้กล้วยไม้แห้ง


รายชื่อกล้วยไม้สิงโต
       ที่มีลักษณะดอกคล้ายกับกล้วยไม้สิงโตชนิดนี้

  • Bulbophyllum nymphopolitanum 
  • Bulbophyllum nymphopolitanum 
  • Bulbophyllum papulosum 
  • Bulbophyllum recurvilabre 
  • Bulbophyllum trigonosepalum 
  • Bulbophyllum levanae 
  • Bulbophyllum basisetum giganteum


กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum limbatum Lindl.

ดอกกล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum limbatum
(http://exoticaplants.com)
ชื่ออื่นๆ : The Callus bearing Bulbophyllum
ถิ่นกำเนิด : ไทย พม่า มาเลเซีย เกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ปานกลาง
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี : John Lindley
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย : 1840.

กล้วยไม้สิงโต
       เป็นกล้วยไม้ที่เติบโตด้วยการคืบคานไปด้านข้าง ลำลูกกล้วยอยู่ห่างกันประมาณ 7 ถึง 10 เซนติเมตร--เหมือนต้นสิงโตสมอหิน

ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต 
       ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กมาก กลีบดอกแทบมองไม่เห็น ภาพดอกกล้วยไม้ชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นกลีบเลี้ยงและกลีบปาก กลีบเลี้ยงบนและกลีบเลี้ยงคู่ข้างมีลักษณะคล้ายกันมาก--มีสีม่วงเข้ม ส่วนกลีบปากมีความหนากว่ากลีบเลี้ยง มีสีชมพูเข้ม--ขึ้นอยู่กับพื้นที่ๆพบ

ดอกกล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum limbatum
(orchids.wikia.com)
การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       แสงแดดรำไร











กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum grandiflorum

กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum grandiflora
http://www.orchidspecies.com/
ชื่ออื่นๆ : The Large-Flowered Bulbophyllum
ถิ่นกำเนิด : เกาะสุมาตรา ซูโมลุกกะ และนิวกินี
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต :
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี : 1849
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย : Blume


กล้วยไม้สิงโต
       กล้วยไม้อิงอาศัยที่พบในป่าเขตร้อนชื้น ในป่าฝนที่ระดับความสูง 100 ถึง 800 เมตร กล้วยไม้สิงโตพันธุ์นี้มีลำต้นที่ยาว (เหง้า)

ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต
       ออกดอกเดี่ยว ช่อดอกสีเขียวยาวประมาณ 20 ซม. ดอกมีขนาด 15 ซม. ลักษณะดอกดูแปลกตา ดอกมีกลิ่นเหม็น บนผิวดอกมีลายเป็นช่องสี่เหลี่ยม


การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       *ยังไม่มีข้อมูล

กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum echinolabium

กล้วยไม้สิงโตอิชิโนฯ
(http://en.wikipedia.org/)
ชื่ออื่นๆ : กล้วยไม้สิงโตอิชิโนฯ, Hedgehog-shaped Lip Bulbophyllum
ถิ่นกำเนิด : เกาะซูลาเวซีและเกาะบอร์เนียว
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : อบอุ่น - ร้อน
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี : 1934
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย : J.J.Sm.


ลักษณะของกล้วยไม้สิงโต
       เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มักพบในป่าที่มีความสูง 600 ถึง 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ลำลูกกล้วยรูปทรงไข่ ลำลูกกล้วยมักจะอยู่ติดกัน ช่อดอกจะแทงออกจากฐานรอง












กล้วยไม้สิงโตอิชิโนฯ
(https://www.orchidsforum.com/)
ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต
       กลีบเลี้ยงบนและกลีบดอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ปลายของมันจะม้วนเล็กน้อย ส่วนกลีบเลี้ยงด้านข้างจะยาวลงมา ทำให้ดอกมีขนาดกว่า 40 เซนติเมตร *ซึ่งเป็นดอกกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา กลีบปากสามารถขยับได้ ปากเหมือนปากเม่น
ดอกมีเส้นสีแดงสลับกับสีเหลืองอ่อน ออกดอกในช่วงฤดูร้อน ดอกมีกลิ่น? (กลิ่นหอม[2])



การเพาะปลูกกล้วยไม้สิงโต
       กล้วยไม้ต้องการสภาพอากาศที่ร้อนชื้น มีอากาศไหลเวียนดี ต้องการแสงแดดรำไร หลีกเลี่ยงการให้กล้วยไม้สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เตรียมกระถางแล้วใส่วัสดุปลูกแบบหลวมๆ วัสดุปลูกได้แก่ กาบมะพร้าว หรือสแฟกนั่ม ฯลฯ  สำหรับในฤดูหนาว ควรลดการรดน้ำ



Reference
1. http://www.orchidspecies.com/bulbechinolabium.htm
2. http://orchids.wikia.com/wiki/Bulbophyllum_echinolabium

กล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum carunculatum

ดอกกล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum carunculatum
http://en.wikipedia.org/
ชื่ออื่นๆ : Bulbophyllum amplebrateatum subsp carunculatum
ถิ่นกำเนิด : แถบฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : อบอุ่น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :


ลักษณะของกล้วยไม้
        เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีลักษณะลำลูกกล้วยเป็นรูปไข่ มีช่อดอกยาวประมาณ  ค้นพบกล้วยไม้ชนิดนี้ในป่าที่มีระดับความสูง 800 ถึง 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล กล้วยไม้สิงโตชนิดนี้มีขนาดกลาง

ลักษณะดอกกล้วยไม้สิงโต
        เป็นกล้วยไม้ที่มีดอกใหญ่มากเมื่อเทียบกับกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาด้วยกันเอง ก้านดอกอาจยาวถึง 45 เซนติเมตร ดอกมีขนาดประมาณ 5 ถึง 8 เซนติเมตร ออกดอกเดี่ยว ดอกจะมีกลีบเลี้ยงคู่ข้างยื่นยาวออกมา ส่วนกลีบเลี้ยงบนและกลีบดอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ดอกมีสีเหลืองเรียบ เงาและมัน ลิ้นมีสีแดงเข้ม-ม่วงเข้ม ไม่เรียบ ออกดอกในฤดูร้อน ดอกมีกลิ่นไม่หอมเพื่อล่อพวกแมลงวัน

ดอกกล้วยไม้สิงโต Bulbophyllum carunculatum
(http://www.orchidspecies.com)
การเพาะปลูกกล้วยไม้
        กล้วยไม้สิงโตชนิดนี้มีใบเป็นแผ่นใหญ่ มันต้องการแสงแดดไม่มาก--แสงแดดรำไร--เลี้ยงไว้ในร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ต้องใช้กระถางขนาดใหญ่และต้องระบายน้ำได้ดีมาก


ปัจจุบันกล้วยไม้สิงโตชนิดนี้ถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของกล้วยไม้สิงโตชนิดอื่น คือ Bulb. orthoglossum และ Bulb. amplibracteatum ทั้งนี้ ลักษณะดอกมีความคล้ายคลึงกันมากจนยากที่จะแยกแยะ












Reference
1. http://www.orchidspecies.com/bulbcaruniculatum.htm.
2. http://en.wikipedia.org/wiki/Bulbophyllum_carunculatum.

กล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium spp. ในปั้ม ป.ต.ท.

       ในประเทศที่กำลังพัฒนา ที่ผ่านมามีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว-- นำธรรมชาติออก แทนที่ด้วยเทคโนโลยี หรือสิ่งก่อสร้าง--เช่น พื้นคอนกรีต เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนเริ่มห่างไกลธรรมชาติ ความรู้สึกเครียดมีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เราเริ่มรู้ว่าการนำธรรมชาติออกจากชีวิตเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะถูกต้อง



       ในปัจจุบันเริ่มมีการทุบ/รื้อถอนสิ่งก่อสร้าง--พื้นคอนกรีต เพื่อนำธรรมชาติเข้ามาแทนที่ บริเวณริมถนนก็มีการปลูกต้นไม้มากขึ้น ในหน่วยงานต่างๆ หรือบริเวณรอบๆอาคารสูง







       ภาพดี้เป็นภาพในบริเวณปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งได้จัดสวนสำหรับนั่งพักผ่อน สวนผัก อีกทั้งยังมีกล้วยไม้อยู่หลายต้น

       การปลูกกล้วยไม้นี้ ใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้น การให้ปุ๋ยเป็นแบบปุ๋ยละลายช้า ให้ทุกๆ 3 ถึง 4 เดือน มีสายยางขนาดเล็กต่อตรงถึงกล้วยไม้แต่ละต้น เพียงเปิดวาล์ว กล้วยไม้ทุกต้นก็จะถูกรด






       ธรรมชาติเหล่านี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับมนุษย์ มิใช่ในตู้กระจกสี่เหลี่ยม หรือห้องที่ล้อมรอบไปด้วยผนังคอนกรีต--จะว่าไป ผู้เขียนเองก็กำลังนั่งในห้องนี้!











ใช้สายยางขนาดเล็กเชื่อมโยงต้นกล้วยไม้ทุกต้น การลดน้ำต้นไม้ก็เป็นเรื่องง่ายดาย

ใช้ปุ๋ยแบบละลายช้า

"สุดทางรัก" เอามาปักไว้ในสวน เอ๊ะ ยังไง

สำหรับสวน ก็จัดแบบเป็นธรรมชาติๆ มีนก มีปลา




เป็นสวนสำหรับพักผ่อนที่ดีที่หนึ่ง

กล้วยไม้เอื้อง Sarcochilus hartmannii orchid

ภาพดอกกล้วยไม้
http://www.orchidspecies.com
ชื่ออื่นๆ : -
ถิ่นกำเนิด : ออสเตรเลีย
การเพาะปลูก : ปานกลาง - ค่อนข้างยาก
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ปานกลาง - อบอุ่น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี : 1874
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย : Baron Ferdinand von Muller

       เป็นกล้วยไม้ประเภท lithophyte ที่อาศัยอยู่บนหินใหญ่ หรือบนหน้าผา

ลักษณะของกล้วยไม้
       กล้วยไม้มีความสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งขึ้น ดอกมีสีขาวและอาจมีจุดสีแดงเล็กน้อย

การเพาะปลูกกล้วยไม้
       ปลูกกับสแฟกนั่มมอส ต้องการความชื้นมากกว่า 70% และต้องการแสงแดดพอสมควร ปลูกเลี้ยงในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก บางครั้งบางคราว อาจใช้พัดลมเป่าแทนก็ได้

       กล้วยไม้สกุล Sarcochilus มีกล้วยไม้ประมาณ 40 ชนิด กล้วยไม้ชนิด Sarcochilus fitzeraldii เป็นกล้วยไม้ที่มีราคาแพงมากในประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันมีกล้วยไม้พันธุ์ผสมใหม่ๆมากมาย--อยู่ในหลักร้อย

กล้วยไม้เสือ... Rossioglossum grande orchid

กล้วยไม้เสือ, Rossioglossum grande orchid
(https://upload.wikimedia.org)
ชื่ออื่นๆ : กล้วยไม้เสือ (Tiger Orchid)
ถิ่นกำเนิด : ประเทศกัวเตมาลา เม็กซิโก
การเพาะปลูก : ยาก
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : หนาวเย็น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี : 1840
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย : นักสะสมกล้วยไม้ผู้โด่งดัง John Lindley


       ใบมีขนาด 4 ถึง 10 เซนติเมตร ออกดอกในฤดูหนาว






กล้วยไม้เสือ, Rossioglossum grande orchid
(https://upload.wikimedia.org)
ลักษณะของกล้วยไม้
       เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่หายากมาก เจริญเติบโตในป่าบนภูเขาที่มีความสูงกว่า 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ช่อดอกแทงออกจากฐานของลำลูกกล้วย ดอกมีขนาดใหญ่-- กว้าง 20 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองและน้ำตาล เป็นลายเหมือนเสือ มันจึงถูกเรียกว่ากล้วยไม้เสือ

การเพาะปลูกกล้วยไม้
       กล้วยไม้ต้องการสภาพความชื้นที่คงที่ กล้วยไม้ไม่สามารถเติบโตได้หากอากาศมีอุณหภูมิเกินกว่า 24 องศา จึงยากที่จะปลูกเลี้ยงไว้ที่บ้าน กล้วยไม้ชนิดนี้นิยมปลูกไว้ในกระถางพลาสติก นำไปเลี้ยงไว้ในบริเวณที่มีแสงมากพอ และความชื้นมากกว่า 80%--คงที่ตลอดปี ตอนกลางคืน กล้วยไม้ต้องอยู่ในอุณหภูมิ 8 องศา อาจปลูกไว้ในโรงเรือนเย็น หรือปลูกไว้ในสวนก็ได้

       กล้วยไม้สกุล Rossioglossum ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับกล้วยไม้ที่มีความแตกต่างกันประมาณ 10 ชนิด ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ย้ายมาจากสกุล Odontoglosssum ชื่อสกุลใหม่นี้ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ John Ross--นักสะสมกล้วยไม้ในเม็กซิโก ในช่วงศตวรรตที่ 19

ดอกกล้วยไม้สกุลช้าง Rhynchostylis gigantea orchid

ชื่ออื่นๆ : Vanda densiflora, Anota densiflora gigantea
ถิ่นกำเนิด : พม่า มาเลเซีย ไทย
การเพาะปลูก : ง่าย
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : อบอุ่น

กล้วยไม้สกุลช้าง ช้างกระ
กล้วยไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบในปี 1833 โดยนักกล้วยไม้ชื่อดัง John Lindley เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่เจริญเติบโตในป่าเขตร้อน กล้วยไม้จะยึดตัวเองอยู่กับต้นไม้ โดยใช้รากขนาดใหญ่ของมันเกาะลำต้นไม้ไว้ ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีขาวและมีลายจุดสีชมพู/ม่วง ดอกมีกลิ่นหอม และสามารถบานทนนานได้กว่า 3 เดือน ออกดอกในฤดูหนาว








กล้วยไม้สกุลช้าง ช้างกระ
มักนิยมปลูกกล้วยไม้ชนิดนี้ไว้ในกระถางไม้และกระถางพลาสติก อุณหภูมิบริเวณที่ปลูกไม่ควรต่ำกว่า 15 องศา ความชื้นมากกว่า 80% กล้วยไม้ชนิดนี้ต้องการแสงแดดมาก แต่ต้องไม่สัมผัสกับแดดโดยตรง เป็นกล้วยไม้ที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี













กล้วยไม้สกุลช้าง ช้างกระ
กล้วยไม้สกุลช้าง ชนิดช้างกระ และยังมีชนิดย่อยลงไปอีก เช่น ในไทยมีกล้วยไม้ช้างแดง หรือในประเทศบอเนียวมีช้างม่วง














กล้วยไม้สกุลช้าง ช้างกระ