โรคใบไหม้ โรคกล้วยไม้

        โรคของกล้วยไม้มีหลากหลายประเภท ซึ่งโรคใบไหม้ เป็นโรคของกล้วยไม้ที่พบบ่อย ด้านล่าง เป็นข้อแนะนำวิธีสังเกตุ วิธีรักษา รวมไปถึงวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้กล้วยไม้คุณมีตำหนิ

        โรคใบไหม้เกิดกับกล้วยไม้ที่พึ่งย้ายที่ปลูกใหม่ ซึ่งที่ปลูกใหม่นั้น มีแสงแดดแรงเกินไป(โดยเฉพาะแดดตอนเที่ยง) หรือโดนแสงแดดนานเกินไป จึงทำให้ใบของกล้วยไม้มีลักษณะเป็นจุดสีดำ แล้วจะขยายเป็นวงใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

        วิธีการแก้ไขนั้น ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ควรย้ายกล้วยไม้ไปอยู่ในที่ที่มีแดดอ่อนกว่านี้ หรือที่ๆหลบแดดตอนเที่ยงได้

        วิธีการป้องกัน หากคุณต้องการย้ายที่ปลูกกล้วยไม้ ในช่วงแรก ควรหมั่นสังเกตใบว่ามีจุดสีดำหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปกล้วยไม้ไม่ต้องการแสงแดดมากๆ ผู้ปลูกกล้วยไม้มือใหม่มักจะรู้สึกว่ากล้วยไม้ของตนเองได้รับแสงน้อยเกินไป และมักจะย้ายกล้วยไม้ของมาอยู่ในที่กลางแจ้ง

การตั้งชื่อกล้วยไม้

     สำหรับกล้วยไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จะมีชื่อสกุลและชื่อสปีชีส์ โดยเริ่มจากชื่อสกุล ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และตามด้วยชื่อสายพันธุ์(ชนิด)ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า(Vanda) และชนิด ฟ้ามุ้ย(coerulea) ก็จะเขียนชื่อได้เป็น Vanda coerulea / แวนด้า ฟ้ามุ้ย

        กล้วยไม้จำเป็นต้องมีชื่อเพื่อการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันว่า เรากำลังพูดถึงกล้วยไม้ชนิดใด และสามารถศึกษาต่อได้ว่า กล้วยไม้ชนิดนั้นมีลักษณะอย่างไร มีสภาพ ในการเติบโตอย่างไร ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ไหนเป็นต้น ชื่อที่ใช้เรียกกล้วยไม้ มี 3 ประเภท คือท้องถิ่น ชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์

        ชื่อท้องถิ่นเเป็นอที่เรียกกล้วยไม้ในท้องถิ่น อาจตั้งชื่อเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญา หรือสถานที่ๆพบกล้วยไม้แต่ละท้องถิ่น ใช้สื่อสารกันในหมู่คณะ คนไทย หรือคนที่รู้จักภาษาไทยเท่านั้น

        ชื่อสามัญเป็นชื่อภาษาอังกฤษ ที่ใช้กันแพร่หลายมากขึ้น และชื่อเหล่านั้นถูกยอมรับกันทั่วโลก ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ชื่อสามัญมีข้อดีคือชื่อไม่ยาว ทำให้จดจำง่ายกว่าชื่อวิทยาศาสตร์

        ชื่อทางวิทยาศาสตร์ เป็นชื่อที่นักพฤกษศาสตร์ตั้งขึ้น เพื่อไม่ให้สับสนในการเรียกชื่อพืช ซึ่งจะต้องมีชื่อเดียวเท่านั้น และได้มีการตีพิมพ์ในวารสารทางอนุกรมวิธาน ซึ่งการที่เป็นที่ยอมรับกันแล้ว มีข้อดีคือสามารถระบุต้นพืชได้แน่นอน ไม่สับสน เนื่องจากมีชื่อเดียว แต่มีข้อเสียคือ ชื่อยาวทำให้จดจำได้ยาก ชื่อทางพฤกษศาสตร์ จะใช้สกุลนำหน้า และขึ้นต้นด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่ เว้นวรรค แล้วตามด้วยชื่อ ชนิด โดยมีชื่อผู้แต่งต่อท้าย ชื่อสกุลและชื่อระบุชนิด ต้องเขียนเป็นตัวเองหรือขีดเส้นใต้

        การตั้งชื่อกล้วยไม้ลูกผสมจะต้องขอจดทะเบียนชื่อไปที่ลาดชันสมาคมพืชสวนหนังประเทศอังกฤษ

กล้วยไม้สิงโต สิงโตสองสี / Bulbophyllum bicolor

ในปี ค.ศ. 1833, กล้วยไม้ถูกตั้งชื่อ ว่า Sunipia bicolor.
ในปี ค.ศ. 1851, เปลี่ยนชื่อเป็น Dipodium khasianum.
ในปี ค.ศ. 1853, lone bicolor Lindley
ในปี ค.ศ. 1853, lone khasiana [Griff] Lindley.
ในปี ค.ศ. 1890, Bulbophyllum bicolor
ในปี ค.ศ. 1891, Phyllorchids bicolor (Lindl.) Kuntze.

สิงโตสองสีเป็นหนึ่งในกล้วยไม้ตระกูลสิงโตกรอกตา ที่มีความสวยงาม
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกล้วยไม้สิงโต คงไม่มีใครไม่รู้จักสายพันธุ์นี้

กล้วยไม้ สิงโตสองสีBulbophyllum bicolor
กล้วยไม้ สิงโตสองสีBulbophyllum bicolor
กล้วยไม้ สิงโตสองสีBulbophyllum bicolor
กล้วยไม้ สิงโตสองสีBulbophyllum bicolor
กล้วยไม้ สิงโตสองสีBulbophyllum bicolor

ประเภทการเจริญเติบโต
      กล้วยไม้สิงโต เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เป็นกล้วยไม้ที่อาศัยบนต้นไม้ยืนต้น ใช้รากยึดเกาะต้นไม้ให้ติดแน่นเพื่อพยุงลำต้น และยังสามารถหาอาหารมาเลี้ยงลำต้นด้วย

ลักษณะการเจริญเติบโต
      ลำต้น(ลำต้นแท้หรือเหง้า) จะเจริญไปตามแนวนอนของเครื่องปลูก ส่วนที่งอกออกมาจากเหง้าอาจมีเพียงแค่ใบ คล้ายกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี หรืออาจมีลำลูกกล้วยกับใบเท่านั้น เช่น กล้วยไม้แคทลียา ตาที่อยู่ระหว่างลำลูกกล้วยกับเหง้านั้น มีความสมบูรณ์มาก ซึ่งหากลำลูกกล้วยนั้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ตาก็จะแตกหน่อออกมาใหม่ กล้วยไม้ที่มีลักษณะแตกกอ

ระบบรากของกล้วยไม้สิงโต
      รากกึ่งอากาศ กล้วยไม้ชนิดนี้ มักพบอยู่บนดิน หิน หรือบนต้นไม้ รากมีลักษณะน้ำสามารถดูดน้ำเก็บไว้ได้มาก รากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ รากส่วนมากจะหลบอยู่ในกระถาง แต่อาจมีรากบางเส้นโผล่ออกมา กล้วยไม้ที่มีรากประเภทนี้ไม่ชอบเครื่องปลูกที่แน่น หรือ เปียกแฉะนานเกินไป ซึ่งจะทำให้รากได้รับอากาศไม่เพียงพอ กล้วยไม้ที่มีรากชนิดนี้ได้แก่ สกุลแคทลียา ออนซิเดียม ซิมบิเดียม เป็นต้น

ดอก
      ดอกมีขนาดเล็กมากๆ ขนาดดอกอาจแค่ 1.5 มิลมิเมตร หรือใหญ่สุดก็ สัก 15 มิลมิเมตร

ใบ
      โดยทั่วไป กล้วยไม้สิงโตจะมีใบโผล่ออกมาจากลำลูกกล้วย ประมาณ 1 หรือ 2 ใบเท่านั้น

อุณหภูมิ และแสงแดด
      กล้วยไม้สิงโตชอบแสงแดดรำไรนิดหน่อย ควรมีการพรางแสงประมาณ 50 ถึง 60 เปอร์เซ็นเท่านั้น

การกระจายพันธุ์
      ก็ น่ะ...

ให้ปุ๋ยกล้วยไม้เกินขนาด

        โรคของกล้วยไม้ มีหลายประเภท โรคปุ๋ยเผานั้น ผมไม่รู้ว่าเค้าเรียกว่าอะไร จริงๆแล้วมันไม่น่าจะใช่โรคของกล้วยไม้ด้วยซ้ำ

        โรคปุ๋ยเผา เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดกับผู้ที่เลี้ยงกล้วยไม้มือใหม่ คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกว่า การใส่ปุ๋ยเยอะนั้นเป็นเรื่องดี และไม่นานก็จะได้เห็นผลลัพธ์ในการใส่ปุ๋ยมากเกินไป และกล้วยไม้ อาจถึงตายได้ ได้หากไม่รักษา

        อาการของโรคนั้น เริ่มแรกกล้วยไม้ที่ได้รับสารอาหารเกิน รากจะไม่เจริญเติบโต จะเห็นเหมือนคราบเกลือติดตามกระถาง ตอไม้แต่งสวนภายในของรากจะตายแล้วใบจากมีดสีใบไม้แก่แล้วดำแนวข้อสอบเรื่อง

        วิธีการรักษาโรคปุ๋ยเผา คือใช้น้ำฉีดล้างคราบเกลือที่ติดตามกระถางออก (คราบปุ๋ยนั้นแหล่ะ) ถ้าอาการแย่จริงๆ อาจต้องเปลี่ยนกระถาง แล้วล้างรากกล้วยไม้ให้ดี และดูอาการอย่างใกล้ชิด
การป้องกันโรคปุ๋ยเผา ผู้เลี้ยงกล้วยไม้ควรอ่านวิธีให้ปุ๋ยก่อน ปกติการให้ปุ๋ยนั้น จะให้ในปริมาณที่น้อยมาก

ความหลากหลายของป่าเมืองไทย

        ด้วยความหลากหลายของป่าเมืองไทย ถิ่นอาศัยของกล้วยไม้ป่าก็หลากหลาย ในปัจจุบันพบกล้วยไม้ป่าในประเทศไทย 168 สกุล ประมาณ 1176 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ทุกภูมิภาค โดนในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันออกไป กล้วยไม้ที่ชอบอากาศเย็นจัด และชอบแสงรำไร มักพบได้ตามป่าดงดิบเขาทางภาคเหนือ และป่าไม่ผลัดใบใบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนกล้วยไม้ที่ชอบอากาศร้อน แสงแดดจัด ความชื้นสูง มักพบได้แถวคาบสมุทรทางภาคใต้
        กล้วยไม้ที่ถูกพบมากที่สุด คือกล้วยไม้พวกอิงอาศัย เช่นพวกสกุลหวาย สกุลสิงโตกลอกตา ส่วนกล้วยไม้ดิน พบได้น้อยกว่า สกุลที่มีความหลากหลายมากที่สุดคือ สกุลนางอั้ว พบประมาณ 37 ชนิด รองลงมาคือ สกุลแห้วหมูป่า ....

        ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้หลายสกุล เช่น สกุลเอื้องกระดุม ที่พบทั่วโลกประมาณ 11 ชนิด ในจำนวนนั้น พบในไทย 8 ชนิด และสกุลว่านจูงนาง พบในไทย 7 ชนิด จาก 10 ชนิดทั่วโลก ซึ่งเป็นแหล่งที่พบมากกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน

        ผืนป่าอนุรักษ์ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยล้วนเป็นแหล่งอาศัยสำคัญของกล้วยไม้ป่า หลายพื้นที่พบกล้วยไม้ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป บางพื้นที่พบกล้วยไม้ป่าหายาก หรือกล้วยไม้ไกล้สูญพันธุ์ และบางพื้นที่พบกล้วยไม้เฉพาะถิ่น ซึ่งเป็นถิ่นฐานที่มีสภาพแวดล้อมจำเพาะที่กล้วยไม้ชนิดนั้นๆปรับตัวอยู่ได้อย่างดี เช่น กล้วยไม้สิงโตนิพนธุ์ (Bulbophyllum nipondii Seidenf.) ที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขาหลวง จ.เลย ปัจจุบันกล้วยไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทยมีประมาณ 175 ชนิด ทั้งหมดจัดเป็นกล้วยไม้หายากและมีความสำคัญ

        ในอดีตมีการเก็บต้นกล้วยไม้จากป่าเพื่อขายทั้งในและนอกประเทศจำนวนมาก และเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เนื่องจากป่าถูกทำลายมากขึ้น ทำให้กล้วยไม้ในแหล่งกำเนิดลดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีการกำหนดพืชในวงศ์กล้วยไม้ ซึ่งเป็นพันธุ์แท้ทุกชนิดเป็นพืชอนุรักษ์

        กล้วยไม้ป่ามีข้อดีคือติดฝักง่าย แต่ะฝักมีเมล็ดจำนวนมากมาย แต่ตามธรรมชาติงอกได้เพียงไม่กี่ต้น เนื่องจากเมล็ดไม่มีอาหารสะสมอยู่ภายใน การเพาะเมล็ดกล้วยไม้ในสภาพปลอดเชื้อจะทำให้ได้ต้นอ่อนจำนวนมาก แต่มักำบปัญหาในการเลี้ยงลูกกล้วยไม้ เพราะลูกกล้วยไม้ป่าส่วนใหญ่เลี้ยงยาก จะตายเมื่อต้นอ่อนแอ หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

กล้วยไม้กับอากาศหนาวเย็นเกินไป

        กล้วยไม้อยู่ในที่ที่หนาวเย็นเกินไป ผู้เลี้ยงกล้วยไม้บางคนไม่รู้ว่า กล้วยไม้ของตนชอบอยู่ที่อุณหภูมิแบบไหน กล้วยไม้ถึงจะมีชีวิตอยู่ได้ อุณหภูมิที่เหมาะสมกับกล้วยไม้ทั่วไปคือ 20-25 องศาเซลเซียส

        ในประเทศไทยปัญหาเรื่องอากาศเย็นเกินไปนั่นมีน้อย ลักษณะที่เกิดขึ้นคือ มีจุดสีน้ำตาลที่ผิวใบ การเจริญเติบโตช้า และมีแนวโน้มว่าจะตาย

        การรักษาคือควรเปลี่ยนสถานที่ที่ปลูกไปอยู่ในที่ๆอบอุ่นกว่านี้ และไม่ควรให้กล้วยไม้ถูกแสงแดดโดยตรง กล้วยไม้จะรักษาตัวเองได้

        การป้องกันคือควรปลูกกล้วยไม้ในที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์

โรครากเน่า โรคกล้วยไม้

        โรครากเน่า เป็นหนึ่งในโรคน่าที่มักจะเกิดขึ้นกับกล้วยไม้ โดยเฉพาะกับผู้ที่เพิ่งหัดเลี้ยงกล้วยไม้มือใหม่ ที่ชอบการรดน้ำ ส่วนใหญ่จะเกิดจากกระถางที่ระบายน้ำไม่ดี ถ้าไม่รีบแก้ไข กล้วยไม้อาจจะตายได้

        อาการของโรครากเน่า คือ ใบจะมีลักษณะบิดเบี้ยว บาง แห้งเหี่ยวหรือหดตัว และอาจตาย

        การรักษา ถ้าคุณสงสัยว่ากล้วยไม้ของคุณกำลังจะเกิดโรครากเน่า ต้องเปลี่ยนกระถาง แล้วย้ายที่ปลูกพร้อมกับทำลายส่วนที่เน่าทิ้งไป

        การป้องกัน เมื่อไรก็ตามที่คุณได้กล้วยไม้มาใหม่ สิ่งที่ควรทำคือ เปลี่ยนกระถางใหม่ เพื่อตรวจสอบดูราก ซึ่งอาจจะทำให้เรารู้ทัน และป้องกันปัญหานี้ได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักของโลกรากเน่า คือ การให้น้ำเกินควร ถ้าคุณไม่แน่ใจว่ากล้วยไม้ต้องการน้ำหรือไม่ ก็ไม่ควรรดน้ำ ให้กล้วยไม้ขาดน้ำดีกว่าปล่อยให้จมน้ำ

ประเภท/ลักษณะ การเจริญเติบโตของกล้วยไม้

        รากของกล้วยไม้มีหน้าที่ คือ ดูดความชื้นจากอากาศ ดูดอาหารจากเครื่องปลูก และยังช่วยยึดกับเครื่องปลูก ยึดโขดหิน หรือต้นไม้ เพื่อช่วยให้ลำต้นทรงตัวอยู่ได้ รากบางชนิด ยังมีสารคลอโรฟิลล์ ซึ่งสามารถสังเคราะห์แสงได้อีกด้วย

        หากผู้ปลูกเข้าใจลักษณะการเติบโตของกล้วยไม้ ผู้ปลูกก็จะสามารถเลือกเครื่องปลูกได้อย่างเหมาะสม และยังเข้าใจในเรื่องวิธีการขยายพันธุ์ที่เหมาะสมอีกด้วย


ระบบรากกล้วยไม้มี 4 ประเภท คือ

       1.รากดินเป็น รากที่เกิดจากหัว ที่หัวอยู่ใต้ดิน ตัวรากมีน้ำมาก มักจะพบกล้วยไม้ ชนิดนี้อยู่ตามธรรมชาติ หรือในที่ที่มีฤดูกาลเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เช่น ในช่วงฤดูฝนกล้วยไม้ จะแตกหน่อออกใบ ผลุดขึ้นมาบนดิน และเมื่อถึงฤดูแล้งก็จะเหี่ยวเฉาลงไป คงเหลือไว้เพียงหัวที่เก็บน้ำและมีอาหารไว้ กล้วยไม้ที่มีรากเป็นระบบรากดินในประเทศไทยนั้น มีน้อย เช่น สกุล ...

       2.รากกึ่งดิน ลักษณะเหมือนๆรากดิน แต่หัวอาจจะอยู่บนดิน แต่รากไม่อาบน้ำ รากแทบไม่มีขนอ่อน ในบางครั้ง แม้ว่าใบร่วงหมด คงเหลือเพียงหัว แต่เมื่อได้รับความชื้น และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะแตกหน่อออกใบใหม่ เช่น สกุลเอื้องพร้าว รองเท้านารี


รากกึ่งอากาศของกล้วยไม้แคทลียา
       3. รากกึ่งอากาศ กล้วยไม้ชนิดนี้ มักพบอยู่บนดิน หิน หรือบนต้นไม้ รากมีลักษณะน้ำสามารถดูดน้ำเก็บไว้ได้มาก รากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ รากส่วนมากจะหลบอยู่ในกระถาง แต่อาจมีรากบางเส้นโผล่ออกมา กล้วยไม้ที่มีรากประเภทนี้ไม่ชอบเครื่องปลูกที่แน่น หรือ เปียกแฉะนานเกินไป ซึ่งจะทำให้รากได้รับอากาศไม่เพียงพอ กล้วยไม้ที่มีรากชนิดนี้ได้แก่ สกุลแคทลียา ออนซิเดียม ซิมบิเดียม เป็นต้น




รากกึ่งอากาศของกล้วยไม้ซิมบิเดียม

       4.รากอากาศ ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ที่ชอบอยู่บนต้นไม้ รากมีขนาดใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำเพื่อเลี้ยงตัวมันเอง ทนต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก หากนำมาปลูกกล้วยในกระถางดินเผา รากจะเกาะกับภาชนะปลูก เพื่อยึดลำต้นให้มั่นคง รากจะแตกกิ่งการออกไปเรื่อยๆ หากกล้วยไม้เป็นสมบูรณ์แข็งแรงดี กล้วยไม้ที่มีรากระบบ เช่น สกุลช้าง แวนด้า เข็ม เป็นต้น










ลักษณะการเติบโตของกล้วยไม้ มี 2 ประเภท คือ

1.ประเภทแตกกอ (Sympodial)
        ลักษณะการเจริญเติบโตนั้น ลำต้น(ลำต้นแท้หรือเหง้า)จะเจริญไปตามแนวนอนของเครื่องปลูก ส่วนที่งอกออกมาจากเหง้าอาจมีเพียงแค่ใบ เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี หรืออาจมีลำลูกกล้วยกับใบเท่านั้น เช่น กล้วยไม้แคทลียา ตาที่อยู่ระหว่างลำลูกกล้วยกับเหง้านั้น มีความสมบูรณ์มาก ซึ่งหากลำลูกกล้วยนั้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ตาก็จะแตกหน่อออกมาใหม่ กล้วยไม้ที่มีลักษณะแตกกอ เช่น กล้วยไม้สกุลแคทลียา สกุลหวาย สกุลสิงโตกลอกตา เป็นต้น





2.ประเภทไม่แตกกอ (Monopodial)
        มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางยอด ตาที่ยอดจะแตกใบใหม่ขึ้นเรื่อยๆ และส่วนของโคนต้นจะแห้งตายไล่ ขึ้นมาเรื่อยๆ หากล้วยไม้มีความสมบูรณ์แข็งแรงดี ตาที่ข้อของลำต้นจะแตกยอดออกมาเป็นยอด
        กล้วยไม้ประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะมีรากเป็นแบบรากอากาศ รากบางส่วนจะยึดเกาะเครื่องปลูกไว้ รากอีกส่วนจะยื่นไปในอากาศ การเรียงตัวของใบจะมีลักษณะทับซ้อนกัน ส่วนมากใบจะหนาและแบน กล้วยไม้ในสกุลนี้ ได้แก่ สกุลแวนด้า สกุลช้าง สกุลเสือโคร่ง เป็นต้น



ประเภทของการเจริญเติบโต มี 3 ประเภท คือ

1.กล้วยไม้อิงอาศัย (epiphytic orchid)


ลักษณะรากจะยึดเกาะกับต้นไม้
กล้วยไม้อิงอาศัยบนต้นไม้
        เป็นกล้วยไม้ที่อาศัยบนต้นไม้ยืนต้น ใช้รากยึดเกาะต้นไม้ให้ติดแน่น และยังสามารถหาอาหารมาเลี้ยงลำต้นด้วย กล้วยไม้ส่วนใหญ่ที่พบในประเทศ เป็นกล้วยไม้กลุ่มนี้ เช่น สกุลสิงโต สกุลหวาย เป็นต้น













2.กล้วยไม้ดิน (terrestrail orchid)


กล้วยไม้เจริญเติบโตบนดิน
        เป็นกล้วยไม้ที่มีรากหรือส่วนของลำต้นอาศัยที่ผิวหน้าดินหรือใต้ผิวดินที่เรียกว่า “ลำต้นใต้ดิน” หลายชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ทุกฤดูกาล เช่น ว่านน้ำทอง ว่านนกฮูม มักพบกล้วยไม้เหล่านี้ในป่าดงดิบ หลายชนิดมีการพักตัวในฤดูกาลที่ไม่เหมาะสมโดยเหลือเพียงลำต้นใต้ดินเท่านั้น เช่น สกุลลิ้นมังกร สกุลท้าวคูลู สกุลว่านอึ่ง สกุลบัวสันโดษ เป็นต้น กล้วยไม้กลุ่มนี้มีจำนวนชนิดรองลงมาจากกลุ่มกล้วยไม้อิงอาศัย








3.กล้วยไม้อาศัยบนหิน (lithophytic orchid)
        เป็นกลุ่มกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตและขยายเผ่าพันธุ์ได้โดยอาศัยอยู่บนหินแทนการยึดเกาะบนดินหรือต้นไม้ มักพบอยู่ใกล้กับมอสและไลเคน กล้วยไม้กลุ่มนี้ เช่น ม้าวิ่ง เอื้องกระเจี้ยง เอื้องคำหิน เป็นต้น

กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตอยู่หน้าผา
กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตอยู่บนโขดหิน

ลักษณะของรากกล้วยไม้

        การจำแนกกล้วยไม้ตามระบบราก หากรู้เรื่องระบบราก จะช่วยแนะนำเราในการเลือกใช้เครื่องปลูก ให้เหมาะสมกับรากชนิดนั้น นอกจากนี้ การเลือกเครื่องปลูกที่เหมาะสมจะทำให้กล้วยไม้มีความแข็งแรงสมบูรณ์ด้วย

ระบบรากกล้วยไม้มี 4 ประเภท คือ

       1.รากดินเป็น รากที่เกิดจากหัว ที่หัวอยู่ใต้ดิน ตัวรากมีน้ำมาก มักจะพบกล้วยไม้ ชนิดนี้อยู่ตามธรรมชาติ หรือในที่ที่มีฤดูกาลเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เช่น ในช่วงฤดูฝนกล้วยไม้ จะแตกหน่อออกใบ ผลุดขึ้นมาบนดิน และเมื่อถึงฤดูแล้งก็จะเหี่ยวเฉาลงไป คงเหลือไว้เพียงหัวที่เก็บน้ำและมีอาหารไว้ กล้วยไม้ที่มีรากเป็นระบบรากดินในประเทศไทยนั้น มีน้อย เช่น สกุล ...


       2.รากกึ่งดิน ลักษณะเหมือนๆรากดิน แต่หัวอาจจะอยู่บนดิน แต่รากไม่อาบน้ำ รากแทบไม่มีขนอ่อน ในบางครั้ง แม้ว่าใบร่วงหมด คงเหลือเพียงหัว แต่เมื่อได้รับความชื้น และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะแตกหน่อออกใบใหม่ เช่น สกุลเอื้องพร้าว รองเท้านารี



รากกึ่งอากาศของกล้วยไม้แคทลียา
       3. รากกึ่งอากาศ กล้วยไม้ชนิดนี้ มักพบอยู่บนดิน หิน หรือบนต้นไม้ รากมีลักษณะน้ำสามารถดูดน้ำเก็บไว้ได้มาก รากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ รากส่วนมากจะหลบอยู่ในกระถาง แต่อาจมีรากบางเส้นโผล่ออกมา กล้วยไม้ที่มีรากประเภทนี้ไม่ชอบเครื่องปลูกที่แน่น หรือ เปียกแฉะนานเกินไป ซึ่งจะทำให้รากได้รับอากาศไม่เพียงพอ กล้วยไม้ที่มีรากชนิดนี้ได้แก่ สกุลแคทลียา ออนซิเดียม ซิมบิเดียม เป็นต้น




รากกึ่งอากาศของกล้วยไม้ซิมบิเดียม




       4.รากอากาศ ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ที่ชอบอยู่บนต้นไม้ รากมีขนาดใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำเพื่อเลี้ยงตัวมันเอง ทนต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก หากนำมาปลูกกล้วยในกระถางดินเผา รากจะเกาะกับภาชนะปลูก เพื่อยึดลำต้นให้มั่นคง รากจะแตกกิ่งการออกไปเรื่อยๆ หากกล้วยไม้เป็นสมบูรณ์แข็งแรงดี กล้วยไม้ที่มีรากระบบ เช่น สกุลช้าง แวนด้า เข็ม เป็นต้น