กล้วยไม้สิงโต สิงโตสองสี / Bulbophyllum bicolor

ในปี ค.ศ. 1833, กล้วยไม้ถูกตั้งชื่อ ว่า Sunipia bicolor.
ในปี ค.ศ. 1851, เปลี่ยนชื่อเป็น Dipodium khasianum.
ในปี ค.ศ. 1853, lone bicolor Lindley
ในปี ค.ศ. 1853, lone khasiana [Griff] Lindley.
ในปี ค.ศ. 1890, Bulbophyllum bicolor
ในปี ค.ศ. 1891, Phyllorchids bicolor (Lindl.) Kuntze.

สิงโตสองสีเป็นหนึ่งในกล้วยไม้ตระกูลสิงโตกรอกตา ที่มีความสวยงาม
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกล้วยไม้สิงโต คงไม่มีใครไม่รู้จักสายพันธุ์นี้

กล้วยไม้ สิงโตสองสีBulbophyllum bicolor
กล้วยไม้ สิงโตสองสีBulbophyllum bicolor
กล้วยไม้ สิงโตสองสีBulbophyllum bicolor
กล้วยไม้ สิงโตสองสีBulbophyllum bicolor
กล้วยไม้ สิงโตสองสีBulbophyllum bicolor

ประเภทการเจริญเติบโต
      กล้วยไม้สิงโต เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เป็นกล้วยไม้ที่อาศัยบนต้นไม้ยืนต้น ใช้รากยึดเกาะต้นไม้ให้ติดแน่นเพื่อพยุงลำต้น และยังสามารถหาอาหารมาเลี้ยงลำต้นด้วย

ลักษณะการเจริญเติบโต
      ลำต้น(ลำต้นแท้หรือเหง้า) จะเจริญไปตามแนวนอนของเครื่องปลูก ส่วนที่งอกออกมาจากเหง้าอาจมีเพียงแค่ใบ คล้ายกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี หรืออาจมีลำลูกกล้วยกับใบเท่านั้น เช่น กล้วยไม้แคทลียา ตาที่อยู่ระหว่างลำลูกกล้วยกับเหง้านั้น มีความสมบูรณ์มาก ซึ่งหากลำลูกกล้วยนั้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ตาก็จะแตกหน่อออกมาใหม่ กล้วยไม้ที่มีลักษณะแตกกอ

ระบบรากของกล้วยไม้สิงโต
      รากกึ่งอากาศ กล้วยไม้ชนิดนี้ มักพบอยู่บนดิน หิน หรือบนต้นไม้ รากมีลักษณะน้ำสามารถดูดน้ำเก็บไว้ได้มาก รากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ รากส่วนมากจะหลบอยู่ในกระถาง แต่อาจมีรากบางเส้นโผล่ออกมา กล้วยไม้ที่มีรากประเภทนี้ไม่ชอบเครื่องปลูกที่แน่น หรือ เปียกแฉะนานเกินไป ซึ่งจะทำให้รากได้รับอากาศไม่เพียงพอ กล้วยไม้ที่มีรากชนิดนี้ได้แก่ สกุลแคทลียา ออนซิเดียม ซิมบิเดียม เป็นต้น

ดอก
      ดอกมีขนาดเล็กมากๆ ขนาดดอกอาจแค่ 1.5 มิลมิเมตร หรือใหญ่สุดก็ สัก 15 มิลมิเมตร

ใบ
      โดยทั่วไป กล้วยไม้สิงโตจะมีใบโผล่ออกมาจากลำลูกกล้วย ประมาณ 1 หรือ 2 ใบเท่านั้น

อุณหภูมิ และแสงแดด
      กล้วยไม้สิงโตชอบแสงแดดรำไรนิดหน่อย ควรมีการพรางแสงประมาณ 50 ถึง 60 เปอร์เซ็นเท่านั้น

การกระจายพันธุ์
      ก็ น่ะ...