ประเภท/ลักษณะ การเจริญเติบโตของกล้วยไม้

        รากของกล้วยไม้มีหน้าที่ คือ ดูดความชื้นจากอากาศ ดูดอาหารจากเครื่องปลูก และยังช่วยยึดกับเครื่องปลูก ยึดโขดหิน หรือต้นไม้ เพื่อช่วยให้ลำต้นทรงตัวอยู่ได้ รากบางชนิด ยังมีสารคลอโรฟิลล์ ซึ่งสามารถสังเคราะห์แสงได้อีกด้วย

        หากผู้ปลูกเข้าใจลักษณะการเติบโตของกล้วยไม้ ผู้ปลูกก็จะสามารถเลือกเครื่องปลูกได้อย่างเหมาะสม และยังเข้าใจในเรื่องวิธีการขยายพันธุ์ที่เหมาะสมอีกด้วย


ระบบรากกล้วยไม้มี 4 ประเภท คือ

       1.รากดินเป็น รากที่เกิดจากหัว ที่หัวอยู่ใต้ดิน ตัวรากมีน้ำมาก มักจะพบกล้วยไม้ ชนิดนี้อยู่ตามธรรมชาติ หรือในที่ที่มีฤดูกาลเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เช่น ในช่วงฤดูฝนกล้วยไม้ จะแตกหน่อออกใบ ผลุดขึ้นมาบนดิน และเมื่อถึงฤดูแล้งก็จะเหี่ยวเฉาลงไป คงเหลือไว้เพียงหัวที่เก็บน้ำและมีอาหารไว้ กล้วยไม้ที่มีรากเป็นระบบรากดินในประเทศไทยนั้น มีน้อย เช่น สกุล ...

       2.รากกึ่งดิน ลักษณะเหมือนๆรากดิน แต่หัวอาจจะอยู่บนดิน แต่รากไม่อาบน้ำ รากแทบไม่มีขนอ่อน ในบางครั้ง แม้ว่าใบร่วงหมด คงเหลือเพียงหัว แต่เมื่อได้รับความชื้น และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะแตกหน่อออกใบใหม่ เช่น สกุลเอื้องพร้าว รองเท้านารี


รากกึ่งอากาศของกล้วยไม้แคทลียา
       3. รากกึ่งอากาศ กล้วยไม้ชนิดนี้ มักพบอยู่บนดิน หิน หรือบนต้นไม้ รากมีลักษณะน้ำสามารถดูดน้ำเก็บไว้ได้มาก รากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ รากส่วนมากจะหลบอยู่ในกระถาง แต่อาจมีรากบางเส้นโผล่ออกมา กล้วยไม้ที่มีรากประเภทนี้ไม่ชอบเครื่องปลูกที่แน่น หรือ เปียกแฉะนานเกินไป ซึ่งจะทำให้รากได้รับอากาศไม่เพียงพอ กล้วยไม้ที่มีรากชนิดนี้ได้แก่ สกุลแคทลียา ออนซิเดียม ซิมบิเดียม เป็นต้น




รากกึ่งอากาศของกล้วยไม้ซิมบิเดียม

       4.รากอากาศ ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ที่ชอบอยู่บนต้นไม้ รากมีขนาดใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำเพื่อเลี้ยงตัวมันเอง ทนต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก หากนำมาปลูกกล้วยในกระถางดินเผา รากจะเกาะกับภาชนะปลูก เพื่อยึดลำต้นให้มั่นคง รากจะแตกกิ่งการออกไปเรื่อยๆ หากกล้วยไม้เป็นสมบูรณ์แข็งแรงดี กล้วยไม้ที่มีรากระบบ เช่น สกุลช้าง แวนด้า เข็ม เป็นต้น










ลักษณะการเติบโตของกล้วยไม้ มี 2 ประเภท คือ

1.ประเภทแตกกอ (Sympodial)
        ลักษณะการเจริญเติบโตนั้น ลำต้น(ลำต้นแท้หรือเหง้า)จะเจริญไปตามแนวนอนของเครื่องปลูก ส่วนที่งอกออกมาจากเหง้าอาจมีเพียงแค่ใบ เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี หรืออาจมีลำลูกกล้วยกับใบเท่านั้น เช่น กล้วยไม้แคทลียา ตาที่อยู่ระหว่างลำลูกกล้วยกับเหง้านั้น มีความสมบูรณ์มาก ซึ่งหากลำลูกกล้วยนั้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ตาก็จะแตกหน่อออกมาใหม่ กล้วยไม้ที่มีลักษณะแตกกอ เช่น กล้วยไม้สกุลแคทลียา สกุลหวาย สกุลสิงโตกลอกตา เป็นต้น





2.ประเภทไม่แตกกอ (Monopodial)
        มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางยอด ตาที่ยอดจะแตกใบใหม่ขึ้นเรื่อยๆ และส่วนของโคนต้นจะแห้งตายไล่ ขึ้นมาเรื่อยๆ หากล้วยไม้มีความสมบูรณ์แข็งแรงดี ตาที่ข้อของลำต้นจะแตกยอดออกมาเป็นยอด
        กล้วยไม้ประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะมีรากเป็นแบบรากอากาศ รากบางส่วนจะยึดเกาะเครื่องปลูกไว้ รากอีกส่วนจะยื่นไปในอากาศ การเรียงตัวของใบจะมีลักษณะทับซ้อนกัน ส่วนมากใบจะหนาและแบน กล้วยไม้ในสกุลนี้ ได้แก่ สกุลแวนด้า สกุลช้าง สกุลเสือโคร่ง เป็นต้น



ประเภทของการเจริญเติบโต มี 3 ประเภท คือ

1.กล้วยไม้อิงอาศัย (epiphytic orchid)


ลักษณะรากจะยึดเกาะกับต้นไม้
กล้วยไม้อิงอาศัยบนต้นไม้
        เป็นกล้วยไม้ที่อาศัยบนต้นไม้ยืนต้น ใช้รากยึดเกาะต้นไม้ให้ติดแน่น และยังสามารถหาอาหารมาเลี้ยงลำต้นด้วย กล้วยไม้ส่วนใหญ่ที่พบในประเทศ เป็นกล้วยไม้กลุ่มนี้ เช่น สกุลสิงโต สกุลหวาย เป็นต้น













2.กล้วยไม้ดิน (terrestrail orchid)


กล้วยไม้เจริญเติบโตบนดิน
        เป็นกล้วยไม้ที่มีรากหรือส่วนของลำต้นอาศัยที่ผิวหน้าดินหรือใต้ผิวดินที่เรียกว่า “ลำต้นใต้ดิน” หลายชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ทุกฤดูกาล เช่น ว่านน้ำทอง ว่านนกฮูม มักพบกล้วยไม้เหล่านี้ในป่าดงดิบ หลายชนิดมีการพักตัวในฤดูกาลที่ไม่เหมาะสมโดยเหลือเพียงลำต้นใต้ดินเท่านั้น เช่น สกุลลิ้นมังกร สกุลท้าวคูลู สกุลว่านอึ่ง สกุลบัวสันโดษ เป็นต้น กล้วยไม้กลุ่มนี้มีจำนวนชนิดรองลงมาจากกลุ่มกล้วยไม้อิงอาศัย








3.กล้วยไม้อาศัยบนหิน (lithophytic orchid)
        เป็นกลุ่มกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตและขยายเผ่าพันธุ์ได้โดยอาศัยอยู่บนหินแทนการยึดเกาะบนดินหรือต้นไม้ มักพบอยู่ใกล้กับมอสและไลเคน กล้วยไม้กลุ่มนี้ เช่น ม้าวิ่ง เอื้องกระเจี้ยง เอื้องคำหิน เป็นต้น

กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตอยู่หน้าผา
กล้วยไม้ที่เจริญเติบโตอยู่บนโขดหิน