ลักษณะของรากกล้วยไม้

        การจำแนกกล้วยไม้ตามระบบราก หากรู้เรื่องระบบราก จะช่วยแนะนำเราในการเลือกใช้เครื่องปลูก ให้เหมาะสมกับรากชนิดนั้น นอกจากนี้ การเลือกเครื่องปลูกที่เหมาะสมจะทำให้กล้วยไม้มีความแข็งแรงสมบูรณ์ด้วย

ระบบรากกล้วยไม้มี 4 ประเภท คือ

       1.รากดินเป็น รากที่เกิดจากหัว ที่หัวอยู่ใต้ดิน ตัวรากมีน้ำมาก มักจะพบกล้วยไม้ ชนิดนี้อยู่ตามธรรมชาติ หรือในที่ที่มีฤดูกาลเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เช่น ในช่วงฤดูฝนกล้วยไม้ จะแตกหน่อออกใบ ผลุดขึ้นมาบนดิน และเมื่อถึงฤดูแล้งก็จะเหี่ยวเฉาลงไป คงเหลือไว้เพียงหัวที่เก็บน้ำและมีอาหารไว้ กล้วยไม้ที่มีรากเป็นระบบรากดินในประเทศไทยนั้น มีน้อย เช่น สกุล ...


       2.รากกึ่งดิน ลักษณะเหมือนๆรากดิน แต่หัวอาจจะอยู่บนดิน แต่รากไม่อาบน้ำ รากแทบไม่มีขนอ่อน ในบางครั้ง แม้ว่าใบร่วงหมด คงเหลือเพียงหัว แต่เมื่อได้รับความชื้น และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะแตกหน่อออกใบใหม่ เช่น สกุลเอื้องพร้าว รองเท้านารี



รากกึ่งอากาศของกล้วยไม้แคทลียา
       3. รากกึ่งอากาศ กล้วยไม้ชนิดนี้ มักพบอยู่บนดิน หิน หรือบนต้นไม้ รากมีลักษณะน้ำสามารถดูดน้ำเก็บไว้ได้มาก รากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ รากส่วนมากจะหลบอยู่ในกระถาง แต่อาจมีรากบางเส้นโผล่ออกมา กล้วยไม้ที่มีรากประเภทนี้ไม่ชอบเครื่องปลูกที่แน่น หรือ เปียกแฉะนานเกินไป ซึ่งจะทำให้รากได้รับอากาศไม่เพียงพอ กล้วยไม้ที่มีรากชนิดนี้ได้แก่ สกุลแคทลียา ออนซิเดียม ซิมบิเดียม เป็นต้น




รากกึ่งอากาศของกล้วยไม้ซิมบิเดียม




       4.รากอากาศ ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ที่ชอบอยู่บนต้นไม้ รากมีขนาดใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำเพื่อเลี้ยงตัวมันเอง ทนต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก หากนำมาปลูกกล้วยในกระถางดินเผา รากจะเกาะกับภาชนะปลูก เพื่อยึดลำต้นให้มั่นคง รากจะแตกกิ่งการออกไปเรื่อยๆ หากกล้วยไม้เป็นสมบูรณ์แข็งแรงดี กล้วยไม้ที่มีรากระบบ เช่น สกุลช้าง แวนด้า เข็ม เป็นต้น