กล้วยไม้ เอื้องพวงสร้อย | Cleisostoma discolor Lindl. 1845

เอื้องพวงสร้อย
http://www.orchidspecies.com
ชื่ออื่นๆ :
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย มาเลเซีย กัมพูชา อินโดนิเซียและฟิลิปปินส์
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : เมษายน - พฤษภาคม

เอื้องพวงสร้อยเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตในป่าเบญจพรรณ พบทั้งตามที่ร่ม แสงแดดรำไรและที่โล่งแจ้ง กล้วยไม้มีลักษณะลำต้นที่เล็กและสั้น ใบรูปแถบ มีใบหลายใบ ใบมีขนาดกว้าง 2 ซม. ยาว 10 ซม

กล้วยไม้ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสั้นกว่าใบ ดอกมีสีครีมอมน้ำตาล ดอกมีขนาด 1 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปรี ปลายกลีบมน กลีบดอกมีขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง กลีบปากเป็นอุ้งลึก ดอกมีเดือยขนาดเล็ก

กล้วยไม้ เอื้องก้างปลา | Cleisostoma fuerstenbergianum Kranzl. 1908

เอื้องก้างปลา
(http://www.orchidspecies.com/)
ชื่ออื่นๆ :
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนามและจีน
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ร้อนชื้น
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : กรกฎาคม - สิงหาคม

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่พบได้ในป่าเต็งรัง เจริญเติบโตทั้งในที่ ๆ มีแสงแดดรำไรและมีแสงแดดจ้า ลำต้นมีลักษณะผอมและยาว ห้อยย้อยลง ใบเป็นรูปทรงกระบอกเรียวยาว

ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกห้อยลง ก้านช่อสั้นกว่าแกนช่อ ดอกมีขนาด 0.7 ซม. ดอกมีสีน้ำตาลเข้ม ปลายกลีบมน กลีบปากมีสีขาวครีมและมีเดือย

กล้วยไม้เอื้องพวงสร้อยน้อย | Cleisostoma crochetii (Guillaumin) Garay 1972

กล้วยไม้เอื้องพวงสร้อยน้อย 
ชื่ออื่นๆ : เอื้องใบแหลม
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย ลาวและเวียดนาม
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : สิงหาคม - พฤศจิกายน

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่พบในป่าเบญจพรรณ มีลักษณะลำต้นตั้งตรง สูง 1-3 ซม. มีใบประมาณ 4-6 ใบต่อต้น ขนาดใบยาว 3-7 ซม. กว้าง 0.6 ซม. แผ่นใบค่อนข้างหนาและอวบ ช่วงปลายเรียวแหลม ผิวใบมันเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกยาว 6-15 ซม. ช่อห้อยลง ดอกมีสีเกือบโปร่ง ดอกมีขนาด 0.8 ซม.
กล้วยไม้เอื้องพวงสร้อยน้อย

เอื้องเข็มเย็บกระสอบ | Cleisostoma recurvum (Hook.)

เอื้องเข็มเย็บกระสอบ
ชื่ออื่นๆ : Cleisostoma rostratum
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย ลาว เวียดนาม กัมภูชา เวียดนาม จีน
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : กรกฎาคม - กันยายน

เข็มเย็บกระสอบเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่พบในป่าดิบ ต้นมีลักษณะกลม เจริญเติบโตทางปลายยอด ใบแข็ง แผ่เรียวยาว ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อ ห้อยลง แต่ละช่อมีดอกแน่น ดอกมีประมาณ 40 ดอก ขนาดดอก 0.8 ซม. ดอกจะทยอยบาน ลักษณะดอกกลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเขียวอมเหลือง มีแถบสีน้ำตาลสองแถบ กลีบปากเป็นถุงสีม่วง

เอื้องเข็มเย็บกระสอบ
ชื่ออื่น ๆ
Cleisostoma fordii Hance 1876;
Cleisostoma rostratum (Lindl.) Garay 1972;
Cleisostoma simondianum (Gagnep.) Garay 1972;
Saccolabium simondii Gagnep. 1951;
Sarcanthus fordii (Hance) Rolfe 1903;
Sarcanthus laosensis Guillaumin 1964;
Sarcanthus rostratus Lindl. 1826;
Sarcanthus simondianus Gagnep. 1951;
*Vanda recurva Hook. 1825;
*Vanda rostrata Lodd. 1825

กล้วยไม้ อั้วนวลจันทร์ | Calanthe vestita Wall. ex Lindl. (1833)

กล้วยไม้ อั้วนวลจันทร์
ชื่ออื่นๆ : ขาวมะลิลา
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า มาเลเซียและอินโดนิเซีย
การเพาะปลูก :
สภาพที่เจริญเติบโต : ป่าดิบแล้ง
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : พฤศจิกายน - มกราคม

อั้วนวลจันทร์หรือขาวมะลิลาเป้นกล้วยไม้ดิน เจริญเติบโตในป่าดิบแล้ง มักอยู่ตามซอกหินบนภูเขาหินปูน มีลำลูกกล้วยรูปน้ำเต้า ใบรูปรี ใบมีขนาด กว้าง 10 ซม. ยาว 25 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีขนปกคลุม ดอกมีขนาด 4 ซม. กลับเลี้ยงรูปรีจนถึงรูปรีแกมรูปไข่ ปลายกลีบเรียวแหลม ด้านนอกของกลีบมีขนปกคลุม ดอกมีสีขาว มีเดือยยาว กล้วยไม้ชนิดนี้จะทิ้งใบก่อนออกดอก

กล้วยไม้ อั้วนวลจันทร์

กล้วยไม้ เอื้องเขี้ยวเสือลาย | Cleisomeria lanatum (Lindl.) Lindl. ex G. Don

กล้วยไม้ เอื้องเขี้ยวเสือลาย
(orchidspecies)
ชื่ออื่นๆ : คอกว่าง
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย พม่าและลาว
สภาพที่เจริญเติบโต : พบกล้วยไม้ในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา อยู่ทั้งในที่โล่งแจ้งและในที่มีแสงแดดรำไร
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : เมษายน - กรกฎาคม

เอื้องเขี้ยวเสือลายเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ๆ มีโคนกาบใบห่อหุ้ม ใบรูปแถบ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 10 ซม. ออกดอกเป็นช่อแบบแตกแขนง ห้อยลง ก้านช่อมีขนปกคลุม มีดอกจำนวนมากเรียงชิดแน่นที่ปลายช่อ แต่ละดอกมีใบประดับสีน้ำตาลเข้มรองรับ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5 มม. กลีบดอกและกลีบเลี้ยงสีน้ำตาลอ่อน รอบขอบกลีบสีเหลืองแกมเขียว มีเส้นสีน้ำตาลแดง 3 เส้น ด้านนอกกลีบเลี้ยงมีขนปกคลุม กลีบปาก สีครีมแต้มสีม่วงแดง โคนกลีบเป็นเดือย ส่วนปลายมีระยางค์เป็น 2 แฉก ยื่นออกมาชัดเจน

กล้วยไม้ อั้วพวงมณี | เอื้องน้ำเต้า | Calanthe rubens Ridl. 1890

เอื้องน้ำเต้า
(orchidspecies)
ชื่ออื่นๆ :
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย มาเลเซียและฟิลิปปินส์
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ร้อนชื้น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : มกราคม - กุมภาพันธุ์

เป็นกล้วยไม้ดิน พบในป่าดิบแล้ง อาจพบบนหินที่มีซากพืชทับถม หรือพบตามผาเขาหินปูน

กล้วยไม้ชนิดนี้มีลำลูกกล้วยรูปน้ำเต้า มีใบรูปรี ขนาด  8 x 20 ซม. ปลายเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีขนปกคลุม ดอกมีขนาด 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปรีแกมรูปไข่ กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปรี ด้านนอกของกลีบมีขนปกคลุม ดอกมีสีชมพู มีเดือยยาว

เอื้องน้ำเต้า
(wikipedia)

กล้วยไม้สิงโตสยาม | Bulbophyllum siamense Rchb. f.

กล้วยไม้สิงโตสยาม
ชื่ออื่นๆ : ลิ้นฟ้า
เขตกระจายพันธุ์ : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ป่าดิบเขา
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : พฤศจิกายน - ธันวาคม

สิงโตสยามเป็นทั้งกล้วยไม้อิงอาศัยบนต้นไม้และเจริญเติบโตบนหิน สามารถพบกล้วยไม้สิงโตสยามได้ในป่าดิบเขาทุกภูมิภาคของไทย สิงโตสยามมีลำลูกกล้วยขนาดใหญ่ สีเขียว รูปไข่ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. แต่ละลำลูกกล้วยอยู่ห่างกัน 3-7 ซม. แต่ละลำลูกกล้วยจะมีใบเพียง 1 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ใบกว้าง 5-7 ซม ยาว 15-20 ซม ปลายใบแหลม แผ่นใบหนา ออกดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 10 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีเหลือง มีเส้นสีม่วงแดงพาดตามยาวของดอก กลีบเลี้ยงคู่ข้างมีลักษณะใกล้เคียงกับกลีบเลี้ยงบน กลีบปากอาจยาวได้ถึง 1 ซม. มีจุดสีม่วงแดงขนาดเล็กกรจายอยู่ทั่ว

สถานที่ถ่ายภาพ ภูกระดึง จ.เลย




กล้วยไม้สิงโตสยาม


ดอกกล้วยไม้สิงโตสยาม

กล้วยไม้สิงโตแคระดอกสาย | Bulbophyllum clandestinum Lindl. 1841

กล้วยไม้สิงโตนวล
ชื่ออื่นๆ : กล้วยไม้สิงโตนวล
Bulbophyllum bolovense Guill. 1957;
Bulbophyllum myrianthum Schlechter 1911;
Bulbophyllum ovalifolium [Wight]Parish 1883;
Bulbophyllum profusum Ames 1912;
Bulbophyllum sessile [Koen.]J.J.Sm. 1905;
Bulbophyllum sparsifolium Schltr. 1913;
Bulbophyllum teysmannii J.J.Sm. 1905;
Bulbophyllum trisetorum Griff 1851;
Epidendrum volkensii Schltr. 1914;
*Epidendrum sessile Koen 1791;
Oxysepala ovalifolia Wight 1852;
Phyllorchis sessile [Koen]Kze. 1891

เขตกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนิเซีย
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ร้อนชื้น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : สิงหาคม

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มักพบในป่าดิบเขา เจริญเติบโตตามริมลำธารที่มีแสงแดดรำไร ที่ระดับความสูง 400 - 1000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

กล้วยไม้มีลำลูกกล้วยขนาดเล็กมาก ลำลูกกล้วยอยู่ห่างกัน เหง้าจะทอดเลื้อยและห้อยลง ใบเดี่ยว ขนาด กว้าง 0.5 ซม. ยาว 2 ซม. ดอกมีขนาด 1 ซม. ดอกมีสีขาวครีม

กล้วยไม้ หางแมงเงาเล็ก | Appendicula reflexa Blume 1825

หางแมงเงาเล็ก
(www.orchidspecies.com)
ชื่ออื่นๆ : หางแมงป่อง
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย มาเลเซีย อินโดนิเซีย เวียดนาม ฟิจิ
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ร้อนชื้น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : กรกฎาคม - ตุลาคม

กล้วยไม้หางแมงเงาเล็ก หรือหางแมงป่อง เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตบันกินที่มีมอสปกคลุม ขึ้นอยู่ตามป่าดิบเขาและป่าดิบชื้น

ลักษณะของกล้วยไม้
มีลำลูกกล้วยที่เรียวยาว 15-30 ซม. ใบมีขนาด 0.5 x 2.5 ซม. ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกจะแทงออกที่ด้านข้างของลำต้น ออกดอกประมาณ 3 - 9 ดอก แต่จะทยอยบานทีละ 2-3 ดอก ดอกมีขนาดเล็ก ประมาณ 0.3 ซม. ดอกมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน

รายชื่อของกล้วยไม้ชนิดนี้ที่เคยตั้ง
Appendicula cordata Hook.f. 1890;
Appendicula cornuta var. formosana (Hayata) S.S.Ying 1990;
Appendicula dalatensis Guillaumin 1961;
Appendicula formosana Hayata 1911;
Appendicula formosana var. kotoensis (Hayata) T.P.Lin 1977;
Appendicula kotoensis Hayata 1911;
Appendicula reflexa f. cleistogama J.J.Sm. 1909;
Appendicula reflexa var. cycloglossa (Schltr.) Schltr. 1911;
Appendicula reflexa var. neopommeranica (Schltr.) Schltr. 1912;
Appendicula reflexa var. reflexa.; Appendicula robusta Ridl. 1924;
Appendicula vanikorensis Ames 1932;
Appendicula vieillardii Rchb.f. 1876;
Appendicula viridiflora Teijsm. & Binn. 1862;
Appendicula wenzelii Ames 1913 publ. 1914;
Podochilus vieillardii (Rchb.f.) Schltr. 1900;
Podochilus reflexus (Blume) Schltr. 1900;
Podochilus neopommeranicus Schltr. 1905;
Podochilus reflexus var. cycloglossus Schltr. 1911;
Podochilus taiwanianus S.S.Ying 1977;
Podochilus kotoensis (Hayata) S.S.Ying 1996;


กล้วยไม้ หางแมงเงา | Appendicula cornuta Blume 1825

หางแมงเงา
(http://www.orchidspecies.com/)
ชื่ออื่นๆ : Appendicula bifaria Lindl. 1855;
Appendicula bifaria var. wallichiana Hook.f. 1890;
Appendicula brachiata (Schltr.) Schltr. 1912;
Appendicula cyclopetala (Schltr.) Schltr. 1912;
Appendicula manillensis (Schaued.) Rchb.f. 1859;
Appendicula reduplicata C.S.P.Parish & Rchb.f. 1878;
Dendrobium bifarium Lindl. 1830;
Dendrobium manilense Schauer 1843;
Dendrobium pseudorevolutum Guillaumin 1958;
Podochilus brachiatus Schltr. 1900;
Podochilus cornutus (Blume) Schltr. 1900;
Podochilus cyclopetalus Schltr. 1911

เขตกระจายพันธุ์ : พม่า มาเลเซีย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม จีน ไทย อินเดีย
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ร้อนชื้น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : กรกฎาคม - พฤศจิกายน

หางแมงเงาเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่เจริญเติบโตในที่แสงแดดรำไร มีลำต้นที่เล็กและขึ้นชิดติดกันเป็นกอ ใบเล็กรูปขอบขนาน เรียงสลับกัน ใบมีขนาด 1 x 2 ซม ปลายใบเว้าบุ๋มและมีติ่งแหลม ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสั้น ดอกขนาดเล็กเพียง 0.5 ซม มีสีขาวหรือเหลืองอ่อน

กล้วยไม้ ช้างดำ | Pomatocalpa spicatum Breda

กล้วยไม้ ช้างดำ
(www.species-specific.com/)
ชื่อพ้อง :
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย ลาว พม่า เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิกขิม

ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : สิงหาคม - ตุลาคม

ช้างดำเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขาและป่าดิบชื้น กล้วยไม้เจริญเติบโตในที่ที่มีแสงแดดไม่มาก (แสงแดดรำไรหรือมืดคลึ้ม)

ลักษณะกล้วยไม้ช้างดำ
กล้วยไม้ช้างดำมีลำต้นที่สั้นมาก ใบรูปขอบขนานถึงรูปแถบ ใบกว้าง 2.5 ซม. ยาว 8 ซม. ปลายใบเว้า ออกดอกเป็นช่อกระจะ ช่อดอกย้อยลง

ลักษณะดอกกล้วยไม้
ดอกมีสีเหลือง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปรีจนถึงรูปรีกว้าง

กล้วยไม้ชนิดนี้พบได้ทั่วทุกภาคของไทย

กล้วยไม้ หวายแดง | Renanthera coccinea Lour. 1790

กล้วยไม้ หวายแดง
(www.orchidspecies.com)
ชื่อพ้อง :
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย ลาว พม่า เวียดนาม จีน
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : มีนาคม - เมษายน

หวายแดงเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่พบในป่าดิบแล้ง เจริญเติบโตใกล้ลำธารหรือบนผาที่มีน้ำตก เติบโตในที่โล่งแจ้ง

ลักษณะกล้วยไม้
หวายแดงมีลำต้นรูปทรงกระบอกยาว สูง มีรากขนาดใหญ่เพื่อช่วยในการยึดเกาะลำต้นให้ตั้งตรง ใบรูปขอบขนาน กว้าง 1.5 ซม. ยาว 5 ซม. ปลายหยักเว้า ออกดอกเป็นช่อ ดอกจะเรียงห่างกัน ดอกมีขนาด 3-4 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปแถบ กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปรียาว โคนมีรูปลิ่ม ขอบบิดเป็นคลื่น กลีบดอกรูปแถบ กลีบปาดสั้น

ภาพวาดกล้วยไม้ หวายแดง
(upload.wikimedia.org)

กล้วยไม้ เอื้องระย้า | Robiquetia spathulata (Blume) J.J. Sm. 1912

เอื้องระย้า
(www.orchidspecies.com)
ชื่อพ้อง :
Aerides densiflorum (Lindl.) Wall. ex Hook.f. 1890;
Cleisostoma robustum Guillaumin 1930;
*Cleisostoma spatulatum Blume 1825;
Cleisostoma spicatum Lindl. 1847;
Gastrochilus densiflorus (Lindl.) Kuntze 1891;
Pomatocalpa densiflorum (Lindl.) Tang & F.T.Wang 1951;
Saccolabium acutilabrum Gagnep. 1932;
Saccolabium borneense Rchb.f 1881;
Saccolabium densiflorum Lindl. 1833;
Sarcanthus castaneus Ridl. 1896;
Sarcanthus densiflorus (Lindl.) C.S.P.Parish & Rchb.f. 1874

เขตกระจายพันธุ์ : ไทย ลาว พม่า อินเดีย
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : พฤษภาคม - มิถุนายน

เอื้องระย้าเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่พบได้ในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้นและป่าพรุ มักเจริญเติบโตในที่ ๆ มีแสงแดดรำไร

ลักษณะเอื้องระย้า ลำต้นเป็นรูปทรงกระบอกห้อยลง ใบรูปแถบ ใบกว้าง 2 ซม. ยาว 10 ซม. ใบหนาและแข็ง ปลายใยเว้าบุ๋ม ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกย้อยลง แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกมีขนาด 0.8 ซม. ดอกมีสีเหลืองปนแดง กลีบดอกรูปขอบขนาน ปลายกลีบมน กลับเลี้ยงรูปรีกล้าว ปลายกลีบมน กลีบปากอวบหนา สีเหลืองครีม

เอื้อระย้าเป็นพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส

กล้วยไม้ ตานโมย | Apostasia nuda R. Br.

ชื่ออื่นๆ :
เขตกระจายพันธุ์ : พม่า ไทย มาเลเซีย และอินโดนิเซีย
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : เจริญเติบโตในป่าดิบ มักพบในที่แสงแดดรำไร
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : มิถุนายน - กรกฎาคม

ตานโมยเป็นกล้วยไม้ดิน มีลำต้นที่แข็งแรง สูงตั้งตรง สูงประมาณ 20 - 40 ซม ใบรูปใบหอกเป็นมันคล้ายใบหญ้า เรียงวนรอบต้น ใบกว้าง 0.5 - 1.0 ซม ยาว 15 - 30 ซม ปลายแหลม

ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกยาว 6 - 10 ซม ดอกมีขนาดเพียง 0.5 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองสด กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่กลีบปากแตกต่างจากกลีบเลี้ยงและกลีบดอก

กล้วยไม้ เอื้องปีกไก่ใหญ่ | Agrostophyllum planicaule (Wall. ex Lindl.) Rchb.f. 1864

ชื่ออื่นๆ : Agrostophyllum hasseltii Rchb.f. 1864
Agrostophyllum khasianum Griff. 1844
Appendicula hasseltii Wight 1851
Eria planicaulis Wall. ex Lindl. 1840

เขตกระจายพันธุ์ : เนปาล สิกขิม ภูฏาน อินเดีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ บอร์เนียว ไทย
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต :
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : มิถุนายน - กรกฏาคม

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีใบขนาด 2x15 เซนติเมตร ใบหนาและแข็ง ช่อดอกแบบกระจุก ออกดอกที่ปลายยอด ช่อดอกยาว 1.0 - 1.5 เซนติเมตร แต่ละช่อดอกมีดอก 10 - 20 ดอก ดอกมีขนาด 0.3 เซนติเมตร ดอกสีครีม ปลายกลีบปากแผ่กว้าง ปลายกลีบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย

กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ | Rhynchostylis coelestis Rchb.f.

กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ
ชื่อพ้องและชื่ออื่น ๆ : เอื้องขี้หมา เขาควาย
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : มีนาคม - พฤษภาคม

เขาแกะเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง มีลำต้นรูปทรงกระบอก ใบรูปแถบ กว้าง 2 ซม. ยาว 10 ซม. ใบเรียงชิดติดกันแน่น ปลายใบเว้าไม่เท่ากัน ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกตั้งตรงชี้ขึ้น ดอกมีขนาด 1.5 ซม. กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบเลี้ยงคู่บนรูปรีแกมรูปไข่กลับ กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปไข่กลับ ทั้งห้ากลีบมีสีขาว ปลายกลีบมีสีม่วงจาง กลีบปากเป็นรูปลิ่ม สีขาวม่วง

ดอกมีกลิ่นหอม

กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ
กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ

กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ

กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ
กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ

กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ

กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ

กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ

กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ

กล้วยไม้ เอื้องเขาแกะ

กล้วยไม้เอื้องนมหนู | Acriopsis liliifolia (J. Konig) Seidenf.

(http://www.orchidspecies.com/)
ชื่ออื่นๆ : จุกโรหินี, รูหินี
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า มาเลเซีย ลาว เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ร้อนชื้น
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : เมษายน ถึง มิถุนายน

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตในป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขาและป่าดิบชื้น มีลำลูกกล้วยเป็นรูปไข่ ขนาด 1.5 x 15 ซม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาด 1 เซนติเมตร ดอกมีสีม่วง

กล้วยไม้ ช้างงาเดียว | Thunia alba (Lindl.) Rchb. f. 1852

(www.orchidspecies.com)
ชื่ออื่น ๆ : เศวตสอดสี และ เอื้องงาช้าง
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า มาเลเซีย อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฏาน
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : มิถุนายน - ตุลาคม

ช้างงาเดียวเป็นกล้วยไม้ดิน บางครั้งเจริญเติบโตตามซอกหินหรือในขอนไม้ผุ พบในป่าดิบเขา ทั้งในที่โล่งแจ้งและที่ ๆ มีแสงแดดรำไร ลำลูกกล้วยมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ใบรูปหอกแกมรูปแถบ กว้าง 2.5 ซม ยาว 8 ซม ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกห้อยลงมา แต่ละช่อมีดอกไม่มาก ดอกมีขนาด 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปหอกแกมรูปไข่ ส่วนกลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีขาว กลางกลีบปากมีสีเหลือง ขอบกลีบปากเป็นรอยย่น

กล้วยไม้ จุกพราหมณ์ เข็มหนู นมหนูหัวกลม | Acriopsis indica Wight

(http://www.orchidspecies.com/)
ชื่ออื่นๆ :
เขตกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย

การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : พบทั่วประเทศ  ตามป่าดิบเขา  ที่ระดับความสูงประมาณ  1,000  เมตร
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : กันยายน ถึง พฤศจิกายน

กล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าไม่ผลัดใบ เจริญเติบโตในที่โล่งแจ้ง ลำลูกกล้วยรูปไข่ สูง 1 ซม. ลำลูกกล้วยเบียดแน่นเป็นกระจุก แต่ละลำลูกกล้วย มี 2 ใบ

ใบเรียวคล้ายใบหญ้า กว้าง  0.3  ซม.  ยาว  8-10  ซม. ทิ้งใบเมื่อผลิดอก

ดอก  ออกเป็นช่อตั้งจากโคนกอ  ก้านช่อยาว 15-20 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเขียวอ่อน มีประสีน้ำตาล  กลีบปากสีเขียวอ่อน  มีติ่งสีขาว  ดอกบานเต็มที่กว้าง 1  ซม.

กล้วยไม้สิงโตรวงข้าวเมืองจันท์ | Bulbophyllum dissitiflorum Seidenf. 1979

กล้วยไม้สิงโตรวงข้าวเมืองจันท์
ชื่ออื่นๆ : The Loose Flowered Bulbophyllum
เขตกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในประเทศไทย ; ดอยสุเทพ
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : ธันวาคม - มกราคม

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา เจริญเติบโตได้ทั้งที่มีแสงแดดรำไรและที่มีแสงแดดจัด มีลำลูกกล้วยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ลำลูกกล้วยเจริญเติบโตอยู่ห่างกันบนเหง้า ใบเดี่ยวรูปแถบ กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 13 ซม ออกดอกเป็นช่อ แทงช่อที่โคนลำลูกกล้วย ช่อดอกยาว 15 - 25 ซม. ดอกเรียงห่างกัน ดอกมีขนาด 0.5 ซม. ดอกมีสีน้ำตาลแดง

(http://www.orchidspecies.com/)

กล้วยไม้ เอื้องแมงปอเล็ก | Arachnis labrosa (Lindl. & Paxton) Rchb.f. 1886

กล้วยไม้ เอื้องแมงปอเล็ก
ชื่ออื่นๆ :
Arachnanthe bilinguis Benth. 1881;
Arachnis bilinguis Benth. 1881;
Armodorum labrosum (Lindl. ex Paxton) Schltr. 1911;
Arrhynchium labrosum Lindl. ex Paxton 1850; Renanthera bilinguis Rchb. f. 1854;
Renanthera leptantha Fukuy. ex A.T.Hsieh, 1955

เขตกระจายพันธุ์ : ไทย พม่า เวียดนาม จีน เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต :
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : สิงหาคม - กันยายน

เอื้องแมงปอเล็กเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าดินแล้งและป่าเบญจพรรณ ลำต้นยาว 8-40 ซม. ใบ รูปแถบแกมขอบขนาน กว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 20-29 ซม. ช่อดอกออกจากซอกใบ ยาว 30-80 ซม. แบบช่อกระจะ บางครั้งแตกแขนง  ดอก บานเต็มที่กว้าง 4 - 4.5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนาน สีเหลืองอ่อนแกมเขียว มีประ สีน้ำตาลแดงที่ขอบและปลายกลีบ กลีบปากสีเหลืองอ่อน โคนกลีบ มีขีดสั้นๆ สีน้ำตาลแดง โคนกลีบปากคล้ายเป็นเดือยสั้นๆ

เป็นพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส

กล้วยไม้ เอื้องเสือโคร่ง | Staurochilus fasciatus Ridley 1896

ชื่ออื่นๆ : เอื้องลายเสือ
Staurochilus fasciatus Ridley 1896;
Stauropsis fasciata Benth. & Hook. f. 1889;
Stauropsis fasciata Ridley ? ;
Trichoglottis fasciata (Benth. & Hook. f.) Rchb. f. 1872 ;
Vandopsis leytensis Ames 1915

เขตกระจายพันธุ์ : ฟิลิปปินส์ ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย
การเพาะปลูก :
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต :
กล้วยไม้ถูกค้นพบในปี :
กล้วยไม้ถูกค้นพบโดย :
ช่วงที่กล้วยไม้ออกดอก : มีนาคม - พฤษภาคม

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้งตามที่โล่งแจ้ง เอื้องเสือโคร่งมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นทรงกระบอก ใบรูปขอบขนานจนถึงรูปแถบ ขนาด 3.5 - 15 ซม ปลายใบเว้า ออกดอกเป็นช่อกระจะ ดอกมีขนาด 3.5 ซม เรียงห่าง ๆ กัน ดอกมีพื้นสีเหลือง มีลายน้ำตาลแดงพาดตามขวาง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้าย ๆ กัน