สำรวจกล้วยไม้ป่าในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ

        สำรวจพบกล้วยไม้ป่าในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช เขื่อนจุฬาภรณ์ 55 ชนิด เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย 46 ชนิด กล้วยไม้ดิน 9 ชนิด จัดจำแนกในระดับสกุล ได้ 31 สกุล สามารถระบุชนิดได้แล้ว 41 ชนิด สกุลที่พบมากที่สุดคือ กล้วยไม้สกุลหวาย(Dendrobium) พบจำนวน 9 ชนิด รองลงมาคือกล้วยไม้ สกุล Cleisostoma จำนวน 3 ชนิด ส่วนในสกุลอื่นๆ พบ สกุลละ 1-2 ชนิด ในแต่ละเส้นทางสำรวจพบความหลากหลายของชนิดกล้วยไม้ต่างกัน โดยเส้นทางที่ 3 พบกล้วยไม้ป่า 33 ชนิด มากกว่าเส้นทางอื่น ชนิดที่พบมากและพบในทุกเส้นทางคือ กุหลาบกระเป๋าปิด(Aerides falcata Lindl.) กล้วยไม้ป่าที่สำรวจส่วนใหญ่เป็นชนิดที่มีรายงานการสำรวจพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นผืนป่าไกล้เคียงกัน แต่พบจำนวนชนิดน้อยกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากขนาดของพื้นที่ การสำรวจเฉพาะบริเวณเส้นทาง และจำนวนครั้งที่เข้าสำรวจฤดูละ 1 ครั้ง อาจไม่ตรงกับช่วงเวลาดอกบานของกล้วยไม้บางชนิด ซึ่งลักษณะดอกส่วนใหญ่เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ใชในการจำแนกชนิด จึงต้องเก็บตัวอย่างจากพื้นที่เพื่อติดตามระยะกดารเกิดดอก กล้วยไม้หลายชนิดสามารถให้ดอกที่สมบูรณ์ 


        แต่บางชนิดที่ยังไม่สามารถจำแนกได้ แม้จะสำรวจพบชนิดของกล้วยไม้ป่าในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชในเขื่อนจุฬาภรณ์จำนวนไม่มากนัก แต่หลายชนิดที่สำรวจพบเป็นชนิดที่ปัจจุบันมีประชากรน้อยและพบเห็นได้ยากในสภาพธรรมชาติ เช่น เสือขาวสุมาตรา ช้างกระ จุหลัน เอื้องจิ๋ว อย่างไรก็ดี กล้วยไม้ป่าทุกชนิดล้วนมีคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งกำเนิด


ที่มา : นึกก่อน สักแปป มันลืม...