กล้วยไม้สายพันธุ์ รองเท้านารีเหลืองเลย | Paphiopedilum hirsutissimum

ชื่ออื่นๆ : Cypripedium hirsutissimum
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย พม่า ไทย จีน
การเพาะปลูก : ง่าย
สภาพอากาศที่เจริญเติบโต : ปานกลาง - เย็น

รองเท้านารีเหลืองเลย
(Paphiopedilum hirsutissimum)
       กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นกล้วยไม้อิงอาศํยที่เจริญเติบโตบนต้นไม้ ตามโขดหินหรือสอกหิน ถูกค้นพบในปี 1857 มักพบในป่าที่มีความชื้นสูงที่เต็มไปด้วยมอส ใบมีขนาดยาวถึง 40 เซนติเมตร ออกดอกเดี่ยว ดอกมีสีเหลือง-แดงม่วง กลีบปากมีสี น้ำตาลเหลืองและมีขนเล็กๆติดอยู่












รองเท้านารีเหลืองเลย
(Paphiopedilum hirsutissimum)
       ในธรรมชาติกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองเลยมักจะปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิได้ดี ในช่วงฤดูร้อน อาจร้อนกว่า 30 องศา ขณะที่ในฤดูหนาว อาจหนาวเย็นถึง 1 อวศา เป็นกล้วยไม้ที่มักปลูกในกระถางพลาสติก ต้องการแสงแดดรำไร ออกดอกทนนาน 1 ถึง 2 เดือน




รองเท้านารีเหลืองเลย
(Paphiopedilum hirsutissimum)


พฤติกรรมที่แปลกประหลาด
       ในช่วงแรก นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจนักเกี่ยวกับความสัมพันธุ์ระหว่างแมลงและกล้วยไม้ จนกระทั้งในไป ค.ศ. 1850 ชายผู้โด่งดัง นามว่า "ชาลส์ ดาร์วิน" ได้พบดอกกล้วยไม้สีขาว และกลีบดอกมีลักษณะมันเงาเหมือนถูกเคลือบแว๊กไว้ (Angraecum sesquipedale) ซึ่งดอกกล้วยไม้นี้มีเดือยยาวลงมาประมาณ 18 ซม. เขาพบว่า ที่ด้านล่างของเดือยนี้ มีน้ำหวานอยู่ 'ดาร์วิน'กล่าวว่า น้ำหวานนี้จะเป็นจุดหมายของแมลงต่างๆ แต่ว่า!แมลงประเภทไหนกันที่จะมีปากยาวถึง 18 ซม. เพื่อดูดน้ำหวานเหล่านี้? เขาได้เสนอว่า มีแมลงบางชนิดที่มีปากยาวถึง 30 ซม. หรือยาวกว่านั้น เรื่องแมลงปากยาวนี้กลายเป็นเรื่องตลกของนักวิทยาศาสตร์หลายๆท่าน 50 ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์ได้พบแมลงบางชนิด ที่มีปากยาวเหมือนกับที่ดาร์วินเคยกล่าวไว้ มันมีชื่อว่า "Hawk moth"

       ในปัจจุบัน เรารู้จักกล้วยไม้ที่มีเดือยยาวมากกว่า 200 ชนิด แต่ละชนิดจะมีความยาวของเดือยที่แตกต่างกันไป